วันศุกร์, 17 พฤษภาคม 2567

กรมอนามัยจับมือกรมควบคุมมลพิษและภาคีเครือข่าย ลดการใช้อะมัลกัมทางทันตกรรมตามพันธกรณีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท

                       แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังร่วมงานแถลงข่าวความร่วมมือ “โครงการเร่งรัดการดำเนินงานลดการใช้อะมัลกัมทางทันตกรรมและเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท” ร่วมกับนางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สถาบันบรมราชชนก ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย องค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ทันตแพทยสภาทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมทันตกรรมเด็กแห่งประเทศไทย สมาคมทันตกรรมหัตถการ สมาคมทันตแพทย์เอกชน และชมรมทันตแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ณ อาคารวายุภักษ์ เซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ซึ่งกรมอนามัยได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศไทยในการลดการใช้อะมัลกัมและลดการปลดปล่อยปรอทจากสู่สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการจัดการขยะอะมัลกัมอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) และอีก 2 ประเทศ คือ สาธารณรัฐเซเนกัล และสาธารณรัฐบูรพาอุรุกวัย ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี คือ ระหว่างปี พ.ศ. 2566 – 2569

“อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท” มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากการปลดปล่อยสู่บรรยากาศและการปล่อยสู่ดินและน้ำของปรอทหรือสารประกอบปรอทจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ ผ่านการจัดส่งภาคยานุวัติสารให้กับองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 ส่งผลให้อนุสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับกับประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2560 เป็นต้นมา ทั้งนี้ บทบัญญัติที่สำคัญประการหนึ่งของอนุสัญญามินามาตะฯ คือ ภาคีต้องดำเนินมาตรการลดการใช้อะมัลกัมทางทันตกรรม 2มาตรการหรือมากกว่า จากมาตรการที่อนุสัญญากำหนดทั้งสิ้น 9 มาตรการ ปัจจุบันประเทศไทยโดยความร่วมมือของกรมอนามัยและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการลดการใช้อะมัลกัมทางทันตกรรมแล้ว 5 มาตรการ จึงถือได้ว่าประเทศไทยดำเนินการเกินกว่าบทบัญญัติของอนุสัญญาดังกล่าวแล้ว

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif