วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

ครม. มีมติเห็นชอบการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทาง เพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567

วันที่ 27 มีนาคม 2567 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ (26 มีนาคม 2567) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ 

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์เป็นงานประเพณีของประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน ประกอบด้วยประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งในช่วงเทศกาลดังกล่าวของทุกปี แรงงานต่างด้าวทั้ง 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่ทำงานในประเทศไทยจะเดินทางกลับประเทศเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์และเยี่ยมเยียนครอบครัว เช่นเดียวกันกับที่ประชาชนชาวไทยเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน 

ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานต่างด้าวที่จะเดินทางกลับประเทศต้นทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับแรงงานต่างด้าวซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย อันจะเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจการทำงานในประเทศไทย และเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่แรงงานต่างด้าวจะเดินทางออก – เข้าราชอาณาจักรอย่างไม่ถูกต้อง รวมทั้งลดภาระการติดตามตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม และความสัมพันธ์อันดีด้านแรงงานระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน รง. จึงได้กำหนดมาตรการในการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. กำหนดให้การผ่อนผันดังกล่าวใช้กับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่ได้รับอนุญาตทำงาน ซึ่งถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ได้รับการตรวจลงตราและอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว หรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (Non L-A Visa) โดยที่ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังมีอายุเหลือไม่น้อยกว่าวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 รวมถึงผู้ติดตามของแรงงานต่างด้าวดังกล่าว

2. ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้แรงงานต่างด้าว ในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรและประทับตราการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง โดยแรงงานต่างด้าวดังกล่าวไม่ต้องดำเนินการยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit)

3. หากแรงงานต่างด้าวได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรการนี้ และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ให้การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของแรงงานต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุดลง ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวที่ไม่ประสงค์จะดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว เช่น ประสงค์จะเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหลังจากวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 หรือแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ทราบกำหนดการเดินทางกลับเข้าประเทศไทยที่แน่ชัด แรงงานต่างด้าวดังกล่าวสามารถยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit) ได้ตามปกติ

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เผย สถิติแจ้งความออนไลน์ 1 – 31 กรกฎาคม 67 มูลค่าความเสียหายรวม 3,471,379,963 บาท 
ปักหมุดพัฒนาสตาร์ทอัพไทย สนับสนุนการจัดงาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2024 : SITE 2024
กรมการจัดหางาน เร่งขยายผลขบวนการนำพาคนหางานเก็บผลไม้ป่าฟินแลนด์ผิดกฎหมาย ย้ำขณะนี้ยังชะลอจัดส่งแรงงานไทยทำงานเก็บผลไม้ป่า
รัฐบาลเดินเครื่องยนต์ภาคการท่องเที่ยว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ขยายวีซ่าฟรีเพิ่มเป็น 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศ
รัฐบาลยกระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้แล้ว 140 แห่ง
ยกระดับอุตสาหกรรมโดรนเพื่อการเกษตร ผ่านการสนับสนุนโครงการ “1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) One Tambon One Digital” สร้างระบบนิเวศทางดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก