วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

เผย กรมปศุสัตว์พบ “โรคแอนแทรกซ์” ในลาว จากการกินเนื้อวัว – ควายดิบ ยกระดับมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรค

“เกณิกา”เผย กรมปศุสัตว์พบ “โรคแอนแทรกซ์” ในลาว จากการกินเนื้อวัว – ควายดิบ ยกระดับมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรค เข้มงวดด่านกักกันสัตว์ตามแนวชายแดนไทย – ลาว ตรวจสอบการลักลอบนำเข้า

วันนี้ (9 มี.ค. 67) น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในขณะนี้กรมปศุสัตว์ได้แจ้งเตือนการพบโรคแอนแทรกซ์ ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนในประเทศลาว โดยมีสาเหตุจากการบริโภคเนื้อโค – กระบือดิบ โดยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 มีรายงานข่าวต่างประเทศว่า พบผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ 3 รายที่เมืองสุขุมา แขวงจำปาสัก ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยโรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacillus anthracis) สัตว์ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในดินหรือหญ้าเข้าสู่ร่างกาย หรือจากการกินน้ำและอาหารที่มีเชื้อปะปนเข้าไป เมื่อเชื้อเข้าตัวสัตว์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น พร้อมสร้างสารพิษทำให้สัตว์ป่วยและตายในที่สุด 

ทั้งนี้ระหว่างสัตว์ป่วย เชื้อถูกขับออกมากับอุจจาระปัสสาวะหรือน้ำนม เมื่อเปิดผ่าซาก เชื้อสัมผัสกับอากาศจะสร้างสปอร์ทำให้คงทนในสภาพแวดล้อมได้นาน โค กระบือ แพะ และแกะที่ป่วยจะมีอาการแบบเฉียบพลันคือ จะตายอย่างรวดเร็ว มีเลือดสีดำคล้ำไหลออกตามทวารต่าง ๆ ซากไม่แข็งตัว สำหรับคนที่ผ่าซากหรือบริโภคเนื้อสัตว์ป่วยด้วยโรคนี้แบบสุก ๆ ดิบ ๆ จะพบแผลหลุมตามนิ้วมือ แขน หรือช่องปากและมีอาการเจ็บปวดในช่องท้อง โรคนี้ทำให้คนตายได้หากตรวจพบโรคช้า

น.ส.เกณิกา กล่าวต่อว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมปศุสัตว์ ได้ยกระดับมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรค โดยสั่งการให้ด่านกักกันสัตว์ตามแนวชายแดนไทย – ลาว เข้มงวดตรวจสอบการลักลอบนำเข้าโค กระบือ แพะ และแกะที่มีชีวิต รวมถึงผลิตภัณฑ์ด้วย เตรียมความพร้อมด้านวัคซีนป้องกันโรค และขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ แพะ และแกะให้ดูแลสัตว์ของตนเองให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และหมั่นสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของตนเองอยู่เสมอ ขอย้ำให้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ผ่านการปรุงสุกและเป็นเนื้อสัตว์ที่ทราบแหล่งที่มาเท่านั้น

“หากเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไป พบโค กระบือ แพะ แกะ แสดงอาการป่วยหรือตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุแบบเฉียบพลัน ห้ามเปิดผ่าซาก ห้ามเคลื่อนย้ายซากหรือชำแหละเพื่อการบริโภค ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ หรือ ผ่านทาง Application DLD 4.0 หรือโทรศัพท์สายด่วน 063-225-6888 เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที”

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เผย สถิติแจ้งความออนไลน์ 1 – 31 กรกฎาคม 67 มูลค่าความเสียหายรวม 3,471,379,963 บาท 
ปักหมุดพัฒนาสตาร์ทอัพไทย สนับสนุนการจัดงาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2024 : SITE 2024
กรมการจัดหางาน เร่งขยายผลขบวนการนำพาคนหางานเก็บผลไม้ป่าฟินแลนด์ผิดกฎหมาย ย้ำขณะนี้ยังชะลอจัดส่งแรงงานไทยทำงานเก็บผลไม้ป่า
รัฐบาลเดินเครื่องยนต์ภาคการท่องเที่ยว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ขยายวีซ่าฟรีเพิ่มเป็น 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศ
รัฐบาลยกระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้แล้ว 140 แห่ง
ยกระดับอุตสาหกรรมโดรนเพื่อการเกษตร ผ่านการสนับสนุนโครงการ “1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) One Tambon One Digital” สร้างระบบนิเวศทางดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก