วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

ลุ้นลดค่าไฟ 23 – 50 สตางค์ต่อหน่วย ในงวดปลายปี (ก.ย. – ธ.ค. 66)

ลุ้นลดค่าไฟ 23 – 50 สตางค์ต่อหน่วย ในงวดปลายปี (ก.ย. – ธ.ค. 66) สำนักงาน กกพ. ชี้แนวโน้มราคาก๊าซ LNG ลดลง บวกกับ ปตท.สผ. เร่งผลิตก๊าซอ่าวไทยหลุม G1 ซึ่งมีราคาถูกกว่า 2 – 3 เท่า หากได้ตามเป้าจะลดภาระค่า Ft ให้กับประชาชนจนหายเหนื่อย

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความผันผวน ของราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) นำเข้าที่ส่งผลต่อค่าเอฟที (Ft) ในช่วงที่ผ่านมา สำนักงาน กกพ. จึงศึกษาแนวโน้มราคาค่าไฟฟ้าที่แปรผันไปตามราคา LNG ของงวดถัดไป โดยกำหนดให้ปัจจัยการผลิตอื่นเป็นตัวแปรคงที่ ซึ่งได้ตัวเลขค่า Ft ดังนี้
1. ราคา LNG เฉลี่ย 14 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู (MMbtu) จะลดค่า Ft ได้ 30 สตางค์ต่อหน่วย
2. ราคา LNG เฉลี่ย 15 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู (MMbtu) จะลดค่า Ft ได้ 26 สตางค์ต่อหน่วย
3. ราคา LNG เฉลี่ย 16 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู (MMbtu) จะลดค่า Ft ได้ 23 สตางค์ต่อหน่วย

ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. ใช้ตัวเลขจากปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยในเวลาปัจจุบัน หาก ปตท.สผ. สามารถผลิตก๊าซในอ่าวไทยได้เพิ่มขึ้นจากหลุม G1 ตามแผน ก็จะทำให้อัตราค่า Ft ลดลงได้มากกว่านี้ อาจลดลงได้ถึง 50 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจากราคาก๊าซในอ่าวไทยที่ผลิตได้มีราคาถูกกว่า LNG นำเข้า 2 – 3 เท่าตัว ซึ่งสามารถนำมาลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตาม สำนักงาน กกพ. จะติดตามสถานการณ์ ราคาก๊าซ LNG นำเข้า เนื่องจากราคาก๊าซ LNG ในตลาดโลกที่ปรากฏให้เห็นในวันนี้ จะเป็นต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในอีก 45 วันข้างหน้า เพราะกระบวนการสั่งซื้อก๊าซ LNG และขนส่งจากต้นทางมายังคลังก๊าซในประเทศไทยจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 45 วัน นอกจากนี้ สำนักงาน กกพ.จะดำเนินการมาตราการลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้านอื่นอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและประชาชน

สำนักงาน กกพ. ยังคงขอความร่วมมือผู้ใช้ไฟฟ้าร่วมกันประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงสร้างค่าไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยของไทยเป็นแบบอัตราก้าวหน้า หากท่านยิ่งใช้ไฟฟ้าจำนวนหน่วยมาก ก็จะถูกเรียกเก็บค่าไฟในอัตราที่สูงขึ้นและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากท่านลดการใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นลงนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของท่านเองแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนโดยรวมด้านพลังงานของประเทศด้วย

sXndME.png ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg