อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชภาคอีสานตอนบน วิชาการเกษตรสร้างสรรค์ ผลักดันคุณภาพผลผลิตด้วยเกษตรทันสมัย นำอีสานเข้าสู่ศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อน ในงานวันเกษตรภาคอีสาน มข.
เมื่อวันที่ 25 มค.2568 ณ อุทยานเทคโนโลยีการเกษตรคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชภาคอีสานตอนบน วิชาการเกษตรสร้างสรรค์ ผลักดันคุณภาพผลผลิตด้วยเกษตรทันสมัย นำอีสานเข้าสู่ศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อน” โดยมี นายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายไกรสิงห์ ชูดี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 พร้อมด้วย รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูรคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเพิธีเปิดงานกว่า 500คน
ทางด้าน นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรมีภารกิจหลักด้านการวิจัยด้านพืช จักรกลการเกษตร และปัจจัยการผลิต การบริการวิชาการ การจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้มีผลงานที่นำมาแสดงและให้บริการเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ชมและนำไปไช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย ตามแนวคิดการจัดงาน “วิชาการเกษตรสร้างสรรค์ ผลักดันคุณภาพผลผลิต ด้วยเกษตรทันสมัย นำอีสานเข้าสู่ศูนย์กลางเมล็ดพันธ์พืชเขตร้อน” มีการแสดงนิทรรศการผลงานในในรูปแบบแปลงสาธิตและภาคโปสเตอร์ 52 พันธ์พืช และเทคโนโลยี ประกอบด้วย พันธุ์พืช ปุยชีวภาพ ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช เครื่องจักรกลเกษตร เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ การผลิตพืชที่ให้ผลผลิตและคุณภาพสูง การผลิตพืชแบบคาร์บอนต่ำ การลด PM 2.5การผลิตพืชในโรงเรือน ทั้งพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วลิสง ถั่วเหลือง และพืชอัตลักษณ์พื้นถิ่น เช่น ฝ้าย คราม นอกจากนี้ยังมีงานบริการที่สนับสนุนการผลิตพืชอาหารปลอดภัย ได้แก่ การรับรองมาตรฐาน GAP พืช เกษตรอินทรีย์ การตรวจสอบคุณภาพปัจจัยการผลิต และการควบคุม กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติ โดยเกษตรกรและประชาชนที่สนที่สนใจสามารถเลือกชมได้ตลอด 10 วัน ของการจัดงาน เรามีนักวิจัยและเจ้าหน้าที่คอยให้บริการตลอดงาน และหลังจากการจัดงานครั้งนี้ด้วย
นายรพีภัทร์ ยังกล่าวอีกว่า กรมวิชาการเกษตร ทำงานวิจัยเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรและประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพ ซึ่งมีทั้งงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ และงานวิจัยพร้อมใช้ โดยมีหน่วยงานที่ให้บริการใกล้ชิดเกษตรกรและประชาชนทั้งในส่วนกลางและในภูมิภาคครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัด ซึ่งงานวิจัยก่อนนำไปใช้ นักวิจัยมีการทดสอบให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ในทุกภูมิภาค สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สำหรับผลงานวิจัยที่มีการนำใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในภาคอีสาน ได้แก่ พันธุ์พืชต่าง เช่น อ้อยพันธุ์ กวก.ขอนแก่น 3 ถั่วลิสงพันธุ์ กวก.ขอนแก่น 6 กวก.ขอนแก่น 9 เป็นต้น ด้านปัจจัยการผลิต เช่น ปุยหมักแบบเติมอากาศ ปุ๋ยชีวภาพแหนแดงแหล่งปุ๋ยในโตรเจนราคาถูก ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูที่มีความปลอดภัย และสามารถใช้ทดแทนสารเคมีได้ เช่น BT-1 DOA ควบคุมหนอนผีเสื้อ BS-DOA 24 ควบคุมโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ซึ่งมีทั้งให้บริการโดยหน่วยงานของกรมและหน่วยงานภาครัฐเอกชนที่นำเทคโนโลยีไปขยายผล นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีการการผลิตพืชต่าง ๆ เช่น การผลิตพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรเข้าถึงง่าย ใช้ได้จริง เป็นประโยชน์กับเกษตรกรและประชาชน