วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

ครม. เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567 จำนวน 122,000 ล้านบาท สำหรับเป็น งบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ

(4 มิถุนายน 2564) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (4 มิถุนายน 2567) ที่ประชุม ครม. มีมติให้ความเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ จำนวน 122,000 ล้านบาท สำหรับเป็น งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ โดยมีแหล่งเงินจากการจัดเก็บรายได้ที่เดิมไม่ได้กำหนดไว้ในประมาณการเพิ่มเติม จำนวน 10,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 112,000 ล้านบาท
 
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตามที่ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยใช้จ่ายจาก 3 แหล่งเงิน ได้แก่ (1) การบริหารงบฯ ปี 67 จำนวน 175,000 ล้านบาท (2) การดำเนิการผ่านหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 172,300 ล้านบาท และ (3) งบฯ ปี 68 จำนวน 152,700 ล้านบาท และมีมติเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบฯ 68-71) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 ประกอบกับตามปฏิทินงบฯ เพิ่มเติมปี 67 กำหนดให้ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายงบฯ วงเงินงบฯ และโครงสร้างงบฯ เพิ่มเติมปี 67 ในวันที่ 4 มิถุนายน 2567
 
สงป. ได้ประชุมหารือเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 61 โดยกำหนดวงเงินงบฯ เพิ่มเติมปี 67 มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 สำหรับการดำเนินการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ของรัฐบาล โดยที่ประชุมได้กำหนดงบฯ เพิ่มเติมปี 67 จำนวน 122,000 ล้านบาท สำหรับเป็นงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ โดยมีแหล่งเงินจากการจัดเก็บรายได้ที่เดิมไม่ได้กำหนดไว้จำนวน 10,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 112,000 ล้านบาท
 
การดำเนินการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet จะต้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการให้ทันภายในปีงบฯ 67 เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบฯ เพิ่มเติมปี 67 ได้ทันภายในวันที่ 30 กันยายน 67 และสอดคล้งตาม ม. 21 ของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการทันภายในปีงบฯ 2567 จึงอาจพิจารณาผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการที่เป็นประชาชนกลุ่มเปราะบางผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 14.98 ล้านคน ตามขั้นตอนในโอกาสแรกก่อน
 
ทั้งนี้ วงเงินงบฯ เพิ่มเติมปี 67 จำนวน 122,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับงบฯ ปี 67 จำนวน 3,480,000 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,602,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบฯ 66 จำนวน 417,000 ล้านบาท (ร้อยละ 13.1) ซึ่งเท่ากับกรอบวงเงินตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบฯ 68-71) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 และสำหรับงบลงทุนฯ และงบฯ ชำระคืนต้นเงินกู้ มีสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 61

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เผย สถิติแจ้งความออนไลน์ 1 – 31 กรกฎาคม 67 มูลค่าความเสียหายรวม 3,471,379,963 บาท 
ปักหมุดพัฒนาสตาร์ทอัพไทย สนับสนุนการจัดงาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2024 : SITE 2024
กรมการจัดหางาน เร่งขยายผลขบวนการนำพาคนหางานเก็บผลไม้ป่าฟินแลนด์ผิดกฎหมาย ย้ำขณะนี้ยังชะลอจัดส่งแรงงานไทยทำงานเก็บผลไม้ป่า
รัฐบาลเดินเครื่องยนต์ภาคการท่องเที่ยว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ขยายวีซ่าฟรีเพิ่มเป็น 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศ
รัฐบาลยกระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้แล้ว 140 แห่ง
ยกระดับอุตสาหกรรมโดรนเพื่อการเกษตร ผ่านการสนับสนุนโครงการ “1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) One Tambon One Digital” สร้างระบบนิเวศทางดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก