วันจันทร์, 29 เมษายน 2567

นักวิจัย COLA มข. สุดเจ๋ง!! พัฒนาแพลตฟอร์ม “Hotel Information App” ลดการสูญเสียโอกาสและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ให้กับ อบจ.

21 มี.ค. 2024
119

ทีมนักวิจัยจากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น (COLA KKU) ออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อช่วยให้การบริหารจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จากผู้พักในโรงแรม                           ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนวัตกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดเก็บค่าธรรมเนียมโรงแรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วยข้อมูลขนาดใหญ่และการสะกิดเตือน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน.และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

          ผศ.ดร.กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวถึงที่มาของแนวคิดการพัฒนาว่า “ค่าธรรมเนียมโรงแรมเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญที่ อบจ. จัดเก็บเอง แต่ อบจ. ประสบปัญหาในการจัดเก็บได้น้อยกว่าความเป็นจริงหลายเท่า สาเหตุหนึ่งคือการขาดฐานข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนโรงแรมและผู้เข้าพักที่ครบถ้วน”  ดังนั้น Hotel Information App” ช่วยสกัดและรวบรวมข้อมูลโรงแรมจากเว็บไซต์จองโรงแรมชื่อดัง อาทิ Agoda.com, Booking.com, Expedia.com, Traveloka.com ซึ่งช่วยให้ อบจ. มีข้อมูลรายชื่อโรงแรมที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ทรัพยากรน้อยลงผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เจ้าหน้าที่ของ อบจ. สามารถเลือกดูรายชื่อโรงแรมในพื้นที่ของตนตามช่วงเวลาที่กำหนด จากนั้นระบบจะแสดงผลการค้นหาซึ่งประกอบด้วยชื่อโรงแรม จำนวนห้องพัก ที่อยู่ แผนที่ ราคาห้อง เว็บไซต์ ฯลฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไปได้

          ผศ.ดร.กฤษดา ประชุมราศี นักวิจัย ชี้ให้เห็นข้อจำกัดในการบริหารจัดเก็บที่ผ่านมาว่า กระบวนการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้เริ่มต้นจากการทบทวนและรับฟังความต้องการของ อบจ. จากนั้นได้นำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาแนวคิดเบื้องต้น และแพลตฟอร์ม ก่อนจะนำมาให้ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดเก็บค่าธรรมเนียมโรงแรมได้ทดสอบใช้งานเพื่อปรับปรุงแก้ไข และนำไปใช้จริงต่อไป ทั้งนี้ อบจ. มีการลงพื้นที่สำรวจรายชื่อผู้ประกอบการโรงแรมเพียงปีละครั้งเท่านั้น ซึ่งในระหว่างปีงบประมาณมีโอกาสที่ข้อมูลรายชื่อผู้ประกอบการโรงแรมตกหล่น ทำให้ อบจ. สูญเสียโอกาสในการจัดเก็บธรรมเนียมในส่วนนี้ไป

          ดังนั้น เราจึงอาศัยแนวคิดที่ว่าพฤติกรรมผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เราจึงใช้เทคนิคการสกัดข้อมูลมาช่วยทุ่นแรงให้กับเจ้าหน้าที่ อบจ. ในการอัพเดทรายชื่อโรงแรม จำนวนห้อง ราคาห้องพัก รวมไปถึงพิกัดที่ตั้งของสถานประกอบการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ อบจ. ปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

          ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยได้นำร่องใช้งานแพลตฟอร์ม “Hotel Information App” ใน อบจ. 10 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ อบจ.กาฬสินธุ์ อบจ.ขอนแก่น อบจ.ชัยภูมิ อบจ.ร้อยเอ็ด อบจ.หนองคาย อบจ.นครราชสีมา อบจ.เลย อบจ.สกลนคร และ อบจ.อุดรธานี โดยมีแผนจะขยายผลสู่พื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชิ้นแรกของไทย ! จาก มข.คว้า 2 รางวัลนวัตกรรมนานาชาติ ณ นครเจนีวา
สำนักบริการวิชาการ หนุนบุคลากรสายสนับสนุน Upskill ทักษะการเขียนคู่มือปฏิบัติงานหลักเพื่อประเมินค่างานเพื่อการขอตำแหน่งที่สูงขึ้น
สำนักบริการวิชาการ หารือร่วมกับวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น และ คณะศึกษาศาสตร์ เตรียมความพร้อมการเปิดหลักสูตรการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
แพทย์ มข.เปิด 4 โรคหน้าร้อนพบบ่อยที่ไม่ได้มีแค่ฮีตสโตรก แนะเช็กอาการ พร้อมวิธีป้องกัน
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรม UpSkill บุคลากรท้องถิ่น “สร้างองค์ความรู้กฎหมาย ระเบียบ และความรู้ทางวิชาการ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานฯ” รุ่นที่ 3
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดหลักสูตร UpSkill บุคลากรท้องถิ่น เพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างฯ สำหรับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (งานจ้างก่อสร้าง) รุ่นที่ 3