วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

พิธีส่งมอบตราสัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก (2023 Green Destinations Top 100 Stories)

      คุณสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประธานพิธีส่งมอบตราสัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก (2023 Green Destinations Top 100 Stories)

โดยมี นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. , คุณฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย , คุณสุชาติ ทีคะสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย, คุณสมชาย หาญภักดีปฏิมา ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ , คุณเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน , คุณกิตติ เชาวน์ดี เลขานุการรัฐมนตรีฯ, คุณปิยะดา ปุณณกิติเกษม โฆษกกระทรวงฯ, คุณสุพจน์ วงศ์จรัสรวี ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ, คุณมงคล วิมลรัตน์ รองปลัดกระทรวงฯ, คุณจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว ร่วมงาน ณ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

สุดาวรรณ ปลื้ม อพท. ยกระดับ 3 แหล่งท่องเที่ยวไทย เป็น “สุดยอดแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก”
(Green Destinations Top 100 Stories 2023) หวังดึงรายได้จากนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ขานรับนโยบาย Quality Destination”

สุดาวรรณฯ เดินเครื่องพัฒนาด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืน ชูกลไกมาตรฐานยกระดับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสู่สากล ขับเคลื่อนดึงรายได้จากต่างชาติ กระจายสู่พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ      ชุมชนท้องถิ่น

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (รมว.กก.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 ในโอกาสเป็นประธานในพิธีส่งมอบตราสัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก (2023 Green Destinations Top 100 Stories ) ว่า การบริหารการพัฒนาพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน จนสามารถสร้างและกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการที่ดี เพื่อลดผลกระทบด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนนั้น เป็นนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่มอบหมายให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ดำเนินการขับเคลื่อนและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความสมดุลใน 3 มิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว และใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน ท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม นำไปสู่ความอยู่ดีกินดีของประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวนั้นได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ยังมอบให้ อพท. สร้างกลไกในการประสานการดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภายในกระทรวงฯ หน่วยงานภาครัฐทั้งจากส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคการศึกษาและชุมชน ที่มีบทบาทในการพัฒนาและบริหารจัดการการท่องเที่ยว ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาเดียวกัน  คือ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่มีการบริหารจัดการได้ตามมาตรฐานสากล เป็นที่มาของความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว     3 แหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของไทย คือ พื้นที่ตำบลในเวียง จังหวัดน่าน พื้นที่ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย พื้นที่คลองท่อม จังหวัดกระบี่ ได้รับการยอมรับในระดับสากลในวันนี้

ไม่เพียงเป็นผลสำเร็จจากการปฏิบัติและความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ทุกระดับ ที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาการท่องเที่ยว แต่ยังเป็นต้นแบบในการยกระดับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ให้เห็นถึงความสำเร็จจากผลของความร่วมมือกันพัฒนาทรัพยากรและสามารถนำไปบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ของตัวเองได้ด้วย รวมถึงแสดงให้เห็นกระบวนการในการบูรณาการความร่วมมือของการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างดี ท่าน รมว.กก กล่าวย้ำ

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวเสริมด้านการดำเนินงานว่า อพท. มีแผนงานและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานในระดับสากล โดยนำหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria หรือ GSTC) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษและพื้นที่เตรียมการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ โดยดำเนินการร่วมกับจังหวัด และภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษฯ ทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันพัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวมีคุณภาพ ตามนโยบาย Quality Destination ของ รมว.กก. ตอบสนองความต้องการของตลาดคุณภาพสูง รองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้ง     ชาวไทยและชาวต่างชาติ ตั้งแต่ปี 2563 อพท. ได้ผลักดันแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษฯ จนได้รับการจัดลำดับให้เป็น “สุดยอดแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แหล่งของโลก” รางวัล Green Destinations Top 100 Stories มาแล้ว จำนวน   4 แห่ง ได้แก่ ตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย และ ตำบลในเวียง จังหวัดน่าน ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย และเกาะหมาก จังหวัดตราด ซึ่งดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 ได้เสนอผลงาน Good Practice ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ตำบลในเวียง จังหวัดน่าน (Nan Old City) ในประเด็นการจัดการขยะท่องเที่ยวด้วยกระบวนการทางสังคมของเมืองเก่าน่าน พื้นที่ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย ในประเด็นการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อปกป้องแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีสัตว์รุกรานในเมืองเก่าสุโขทัย และพื้นที่คลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในประเด็นการจัดการป่าต้นน้ำที่ควรได้รับการดูแล รักษาและปลูกป่าทดแทนโดยชุมชนควบคู่กับการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เพื่อปกป้องรักษาฐานทรัพยากรหลักด้านการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน

จากนี้ อพท. เตรียมขยายผลการดำเนินงานการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษของ อพท. ไปสู่มาตรฐานระดับสากล ตลอดจนการเชื่อมโยงเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรการจัดการการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ โดยในปี 2567 อพท. จะดำเนินการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามเกณฑ์ GSTC อีกจำนวน 7 แหล่ง ในจังหวัดตราด ชลบุรี สุโขทัย เลย น่าน สุพรรณบุรี และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อยื่นประกวดรางวัล Green Destinations Top 100 Stories ในปีต่อไป

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 d7zHSwy.jpeg MB9x2v.jpeg d08ssC8.jpeg DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ MEnXPR.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง