วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

กกพ. ยืนยันค่าไฟฟ้า งวด ก.ย.-ธ.ค. 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 4.45 บาทต่อหน่วย

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจพลังงาน (กกพ.) ในการประชุม ครั้งที่ 34/2566 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 โดยเห็นชอบค่าเอฟทีเรียกเก็บจำนวน 66.89 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานจะทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย จะเรียกเก็บอยู่ที่ 4.45 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะลดลงมาจากงวดเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2566 ซึ่งมีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.70 บาทต่อหน่วย โดยให้มีผลตั้งแต่รอบบิลเดือนกันยายน 2566 เป็นต้นไป

“เมื่อวันที่ 7-21 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงาน กกพ.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเรื่องค่าเอฟที สำหรับงวดเดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 พบว่ามีผู้สนใจเข้าติดตามรายละเอียด จำนวน 4,536 ครั้ง มีจำนวนผู้เข้าชมอยู่ที่ 3,725 ราย ค่าเฉลี่ยเวลาเข้าชมอยู่ที่ 4.30 นาทีต่อหนึ่งราย และมีผู้แสดงความคิดเห็นทั้งหมด 316 ราย โดยผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 3 คืออัตราค่าเอฟทีอยู่ที่ 66.89 สตางค์ต่อหน่วย อยู่ที่ 32.9% กกพ. จึงมีมติเห็นชอบตามที่กล่าวมาข้างต้น” เลขาธิการสำนักงาน กกพ. กล่าว

สำหรับแนวโน้มค่าเอฟทีงวดเดือนมกราคม – เมษายน 2567 มีแนวโน้มที่ค่าเอฟทีจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับงวดปัจจุบัน และมีความเป็นไปได้ยากที่จะปรับลดลง เนื่องจากในงวดถัดไปยังมีความเสี่ยงจากต้นทุนราคาเชื้อเพลิงโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาพลังงานในช่วงปลายปีที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับมีความเสี่ยงจากภัยแล้งที่ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนของ สปป.ลาว ลดลง ทำให้การผลิตไฟฟ้าได้ลดลงตามไปด้วย อาจทำให้ต้องใช้แอลเอ็นจีนำเข้าเพิ่มขึ้น รวมถึงยังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาถ่านหินที่มีราคาต้นทุนปรับเพิ่มขึ้นมาเท่ากับราคาก๊าซธรรมชาติ และยังต้องพิจารณาเรื่องการใช้ก๊าซของโรงแยกก๊าซธรรมชาติด้วยว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด เนื่องจากคาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้น ความต้องการใช้ก๊าซก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และยังมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกจากการที่ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยได้ตามแผนที่วางไว้ ประมาณ 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในช่วงปลายปีนี้ และเพิ่มปริมาณเป็น 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในเดือนเมษายน 2567 ซึ่งทำให้ลดการใช้แอลเอ็นจีนำเข้า

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 MAaG61.jpeg MB9x2v.jpeg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ MEnXPR.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง