วันจันทร์, 6 พฤษภาคม 2567

(มีคลิป)มข. จับมือ ลิลลี่ ฟาร์มา ประกาศความสำเร็จอีกครั้งด้วยการเปิดตัวLily Nanoemulsion Homogenizer machine

มข. จับมือ ลิลลี่ ฟาร์มา ประกาศความสำเร็จอีกครั้งด้วยการเปิดตัวLily Nanoemulsion Homogenizer machine เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงปฏิวัติรูปแบบวงการอุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน2566 เวลา 09.00น. ณ KKU science ห้อง Beegins ชั้น 1 (อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น – มหาวิทยาลัยขอนแก่น จับมือ ลิลลี่ ฟาร์มา ประกาศความสำเร็จอีกครั้งด้วยการเปิดตัวLily Nanoemulsion Homogenizer machine เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงปฏิวัติรูปแบบวงการอุตสาหกรรม ยกระดับคุณภาพ อาหาร ยา และเครื่องสำอาง โดยการใช้เทคโนโลยีนาโน อิมัลชั่นที่สามารถนำสารออกฤทธิ์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีนายสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา นาย เรวัต จินดาพล  CEO บริษัท KKU Miss Lily Holding จำกัด นาย ฐาปกรณ์ อุประ Chief of Technology officer บริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา จำกัด ร่วมการแถลงข่าว ท่ามกลางผู้ที่สนใจร่วมรับฟังจำนวนมาก

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงนโยบาย ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการสร้าง start up โดยร่วมทุนกับภาคเอกชน ซึ่งให้ภาคเอกชนเป็นผู้ริเริ่มโดยเริ่มจากมุมมองความต้องการของตลาดในผลิตภัณฑ์นั้นๆ และย้อนกลับมาดูกระบวนการผลิตว่าสามารถแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีได้หรือไม่ หากเป็นไปได้ก็จะกลับมาค้นหากระบวนการวิจัยที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ ซึ่งเราเรียกแนวคิดนี้ว่า เป็นการวิจัยสู่ตลาด โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ทำการวิจัยการผลิตและนำออกสู่ตลาด ส่วนบทบาทของมหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ทางการวิจัยและการทดสอบผลิตภัณฑ์ รวมถึงจัดทีม อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละฝ่ายเพื่อให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชน ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีใหม่ในการทำ start up ของมหาวิทยาลัยโดยดำเนินการร่วมมือกับทางบริษัทมิสลิลลี่ และได้ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนในปี 2565 ซึ่งบริษัทร่วมทุนได้เน้นเทคโนโลยีทางด้านนาโนอิมัลชั่นทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น N-Dro care mouth spray

นอกจากนี้บริษัทร่วมทุนได้นำความรู้มาต่อยอดสู่การผลิตเครื่องจักรนาโนอิมัลชั่นจนประสบความสำเร็จซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ที่ต้องการให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยเพื่อนำความรู้จากงานวิจัยออกสู่ตลาด.

ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดารองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา กล่าวถึงทิศทางของเทคโนโลยีนาโนอิมัลชั่น และงานวิจัยในหลายสาขาได้ให้ความสำคัญกับการนำส่งสารในรูป แบบนาโนอิมัลชั่น ซึ่งเป็นการนำสารออกฤทธิ์ให้อยู่ในส่วนของน้ำหรือน้ำมัน ที่มีขนาดอนุภาคนาโนโดยถูกผสานเข้าด้วยสารอิมัลซิไฟเออร์  ซึ่งเป็นการนำส่งสาร ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว และใช้สารในปริมาณน้อย ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม มนุษย์ และสัตว์ ซึ่งปัจจุบัน ในหลายอุตสาหกรรมได้พยายามที่จะผลิตผลิตภัณท์ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่นออกสู่ท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเกษตรเช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืช อุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ อุตสาหกรรมอาหารและ ยาสัตว์ และอื่นๆ แต่ประเทศไทยยังมีปัญหาในการผลิตเนื่องจากเครื่องจักรดังกล่าวมีราคาที่สูงมาก

มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ร่วมมือกับ บริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา ในการสร้าง กระบวนการผลิต เทคโนโลยีขั้นสูง นาโนอิมัลชั่น โฮโมจีไนเซอร์ จากห้องปฏิบัติการสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย จากทีมงานนักวิจัยและวิศวกรของบริษัท ลิลลี่ฟาร์มา จำกัด ที่สามารถนำข้อมูลและประสบการณ์จากห้องวิจัย ที่มีข้อจำกัดมาพัฒนาใช้ในเชิงอุตสาหกรรม( Production Scale ) มุ่งหมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับวงการอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีนาโนอิมัลชั่น ซึ่งสามารถนำสารออกฤทธิ์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพปัจจุบันเรากำลังทำการวิจัย ทั้ง ยาสัตว์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และยากำจัดวัชพืช รวมไปถึงอาหารเสริมที่อยู่ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่น

นาย เรวัต จินดาพล  CEO บริษัทKKU Miss Lily Holdingจำกัดเปิดเผยว่า “จากการทํางานร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้มุ่งเน้นในการพัฒนาเทคโนโลยี นาโนอิมัลชั่นโดยเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้เราได้มี Technical know howในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบในห้องปฏิบัติการจนสามารถนำไปสู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมนั้นจะต้องใช้เครื่องจักรที่สามารถทำให้สารแตกตัวเป็นอนุภาคระดับนาโน โดยทั่วไปในต่างประเทศจะใช้เครื่องHigh pressure nano homogenizer ซึ่งจะมีราคาแพงมากเช่น ขนาด 300-500 ลิตร จะมีราคา หลัก ร้อยล้านบาท ทำให้อุตสาหกรรมทั่วไปมีข้อจำกัดในการลงทุนเครื่องจักรเหล่านี้ ทางทีมวิศวกรของบริษัท ลิลลี่ฟาร์มา ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ KKU Miss Lily Holding ได้พัฒนาเครื่องจักรในรูปแบบ High speed nano homogenizer และ เครื่องจักรพ่วง จนทำให้เราเป็นผู้นำในการผลิตเครื่องจักรนาโนอิมัลชั่นในกลุ่มอาเซียนเรามีนโยบายที่จะนำเครื่องจักรนี้ไปร่วมมือกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่างๆที่ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่นโดยบริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา จะช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบนาโนอิมัลชั่นและนำไปสู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมโดยการสนับสนุนของทางบริษัทและมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้ประเทศไทยได้กลายเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีนี้ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในทางเศรษฐกิจสำหรับองค์กรที่สนใจสามารถติดต่อบริษัท ลิลลี่ ฟาร์มา จำกัด คุณศิรินทร์ ใต้ชัยภูมิโทร086-319-0270

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สำนักบริการวิชาการ มข. เสริมทักษะการไกล่เกลี่ยฯ ลดข้อพิพาททางการแพทย์และสาธารณสุข รุ่นที่ 6
สำนักบริการวิชาการ มข. หนุนท้องถิ่น จัดหลักสูตร เสริมทักษะการเขียนค่างานและผลงาน เพื่อให้ไปตามประกาศหลักเกณฑ์ รุ่นที่ 1
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรม “การป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐฯ” Upskill สำหรับผู้ปฎิบัติงานท้องถิ่น รุ่นที่ 4
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดหลักสูตร Upskill สำหรับผู้ปฎิบัติงานในท้องถิ่นด้าน กําหนดราคากลาง-คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ(งาน จ้างก่อสร้าง) รุ่นที่ 4
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดหลักสูตร Upskill บุคลากรท้องถิ่น ด้านการสภาและการประชุมสภาฯ พร้อมทั้งสรุปรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สำนักบริการวิชาการ หารือ พม.จังหวัดขอนแก่น เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดตัวโครงการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพ คนพิการเพื่อประกอบอาชีพฯ