วันจันทร์, 11 พฤศจิกายน 2567

ส.ป.ก. ร่วมวางพวงมาลา ถวายสักการะและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องใน “วันปิยมหาราช” ณ พระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ ๕

ผู้บริหารและข้าราชการ ส.ป.ก. ร่วมวางพวงมาลา ถวายสักการะและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องใน “วันปิยมหาราช” ณ พระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ ๕
วันพุธที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายสุรชัย ยุทธชนะ รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้วางพวงมาลา ถวายสักการะและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องใน”วันปิยมหาราช” พร้อมด้วยเหล่าผู้บริหารและขัาราชการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ร่วมวางพวงมาลา ถวายสักการะและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระลานพระราชวังดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

1414151
 วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ ๒๓  ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยในรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี  
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชย์นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช  ๒๔๑๖ (วันที่ ๑๖  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖ - ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓) 
  ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในการประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญ และด้วยพระมหากรุณาธิคุณ  พระองค์ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงพสกนิกรชาวไทยทั่วทั้งแผ่นดิน และนานาอารยประเทศ ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
๑ ในพระราชภารกิจอันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยและแสดงถึงพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และเป็นพระราชภารกิจสำคัญของชาติที่ยิ่งใหญ่ และพระเมตตาที่มีแก่ราษฎรผู้ยากจน นั่นก็คือ "การประกาศเลิกทาส : declaration of the abolition of slavery"  ซึ่ง"ทาส : ข้ารับใช้,บ่าวไพร่" (slave) ในประเทศไทย มีมาแต่โบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถูกยกเลิกในครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ่านการปฏิรูปการปกครองในอดีตมาหลายครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ ถึง พ.ศ.๒๔๔๘

  โดย "การเลิกทาสและการเลิกไพร่ " เป็นการยกเลิกระบบที่คนชั้นสูงตั้งขึ้นเพื่อกดขี่ราษฎรให้ทำงานรับใช้หรือส่งทรัพย์สินให้ โดยไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด  พระองค์ทรงใช้พระปรีชาสามารถค่อยๆ ปรับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับทาสและไพร่เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างราบรื่น
 พระราชภารกิจที่สำคัญยิ่ง และนับเป็นประวัติศาสตร์ที่จักจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยสู่ประชาชนและเยาวชนรุ่นลูกหลานไทย อีกประการหนึ่ง คือ พระองค์ ได้ประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญ ในช่วงประเทศสยามได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตกในหลายๆ ด้าน อาทิ การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยชาติเป็นหนทางหนึ่งที่จะป้องกันภัยคุกคามจากมหาอำนาจชาติตะวันตกได้ ทรงตั้งพระราชหฤทัย ความพากเพียร ความอุตสาหะที่จะรักษาเอกราชของชาติไว้เป็นผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ และได้รับการยกย่องเทิดพระเกียรติ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ  ตราบจนถึงปัจจุบัน

ข่าว/ภาพ :
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

1414152 1414157 1414158 1414172
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif