วันอาทิตย์, 11 พฤษภาคม 2568

ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม มข.แนะเทคนิคออกแบบ “สร้างบ้านรับมือน้ำท่วม” เช็กลิสต์ไว้วางแผนเพื่ออนาคต

16 ต.ค. 2024
105

จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาโลกร้อนที่สะสมมานาน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก พายุเข้า  น้ำป่า ไหลหลาก น้ำท่วมครั้งใหญ่ กลายเป็นภัยพิบัติที่คนไทยต้องเผชิญบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้นทุกปี สร้างความเสียหาย   แก่อาคาร บ้านเรือน และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก อาจถึงเวลาที่ต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารบ้านเรือนเพื่อรับมืออุทกภัยและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยความรู้ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สะท้อนมุมมอง  การออกแบบอาคารบ้านเรือนเพื่อรับมืออุทกภัยว่า วงการสถาปนิกหาแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง โดยเรียนรู้จากภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก และภูมิปัญญาของไทยมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีหรือสภาพ  ความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่เฉพาะน้ำท่วมเท่านั้น แต่ภัยพิบัติอื่น ๆ ทั้งแผ่นดินไหว หรือฝุ่นควัน การออกแบบอาคาร ก็เริ่มมีแนวทางการป้องกันหรือแก้ไขที่เป็นโจทย์จากเจ้าของอาคารมากขึ้นตามพื้นที่ภัยพิบัติต่าง ๆ

แนะแนวทางประเมินลักษณะน้ำท่วม สู่การออกแบบอาคารบ้านเรือนลดความเสียหาย

สำหรับการออกแบบเพื่อรับมือน้ำท่วมนั้นต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย ทั้งในด้านระดับความรุนแรง และระยะเวลา               ในการท่วม ยกตัวอย่าง น้ำท่วมแบบฉับพลันแต่ชั่วคราว หรือน้ำรอการระบาย หากเกิดขึ้นเป็นประจำ ระดับน้ำ  ไม่สูงมาก สิ่งที่จะช่วยรับมือน้ำท่วมได้ คือ การสร้างกำแพงหรือแนวกั้นน้ำเข้าอาคารบ้านเรือน หรือการทำ Flood Gate ในพื้นที่อย่างโรงแรมหรือสถานที่สำคัญ หรือใช้กระสอบทรายช่วยกั้นน้ำ รวมถึงใช้ปั๊มน้ำควบคู่กันไปด้วย และสิ่งสำคัญ คือ ต้องมีการติดตั้งวาล์วกันย้อนของท่อระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากข้างนอกไหลย้อนเข้ามาในบ้าน และป้องกันสัตว์มีพิษต่าง ๆ ได้อีกด้วย

ส่วนพื้นที่ที่มีน้ำท่วมรุนแรง เป็นน้ำที่ไหลบ่าจากที่สูงมาท่วมอาคารบ้านเรือนเป็นวงกว้าง เช่น จังหวัดเชียงใหม่หรือหนองคาย มีกระแสน้ำไหลแรง น้ำท่วมไม่สูงมาก หรืออาจท่วมสูงแต่ไม่นาน ก็ควรสร้างอาคารบ้านเรือนที่มีโครงสร้างแข็งแรง ไม่ควรขวางทางน้ำ เพราะอาจทำให้บ้านหรืออาคารพังได้ ข้อแนะนำคือ ควรเปิดพื้นที่ใต้ถุนหรือชั้นล่างให้น้ำไหลผ่านได้ไม่ขวางทางน้ำ ยกปลั๊กไฟ สวิตช์ไฟให้อยู่ที่สูงไว้ก่อน

สำหรับพื้นที่ปลายน้ำ อย่างกรุงเทพฯ ที่เคยท่วมหนักในปี 2554 หรือจังหวัดอุบลราชธานีที่ปีก่อน ๆ มีน้ำท่วมสูงมากและท่วมขังเป็นเวลานาน เป็นเรื่องยากที่จะป้องกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ตัวบ้านหรืออาคารได้ ดังนั้น จึงควรออกแบบอาคารบ้านเรือนโดยใช้วัสดุที่คงทนและแช่น้ำได้ จึงไม่ควรเป็นไม้อัด ทั้งในส่วนของโครงสร้าง พื้น ผนัง หรือแม้แต่ประตู หน้าต่างที่อาจจะบวมจากน้ำจนทำให้ต้องเปลี่ยนใหม่หลังน้ำท่วม ขณะเดียวกันชั้นล่างควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะสม โดยอาจแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ 1 คือ เฟอร์นิเจอร์ที่ทนน้ำได้เมื่อน้ำลดก็นำมาทำสีใหม่ใช้งานต่อได้ หรืออีกรูปแบบคือเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้วัสดุน้ำหนักเบาที่สามารถขนย้ายได้ง่ายยกไปที่สูงได้

“นอกจากนั้นวัสดุผิวของพื้น ผนัง ต้องทำความสะอาดได้ง่าย เรื่องจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานานจะทำให้มีคราบโคลนติดอยู่ภายในบ้าน และอีกส่วนที่ช่วยได้คือการวางแผนติดโซลาร์เซลล์เพราะในช่วงที่น้ำท่วมนานไฟฟ้าจะถูกตัดทำให้ใช้งานไม่ได้นั่นเอง”

เทคโนโลยีและการออกแบบผังเมืองช่วยลดผลกระทบน้ำท่วมระดับประเทศ

ผศ.ดร.ชำนาญ ยังกล่าวถึงภาพรวมการออกแบบผังเมืองและการนำเทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขปัญหาให้ภาพใหญ่ด้วยว่า มีกรณีศึกษาอย่างประเทศเนเธอแลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นดินต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ทำให้มีวิธีจัดการน้ำตั้งแต่โบราณโดยใช้เนินดินกั้นน้ำควบคู่กับการใช้กังหันลมสูบน้ำออกไป เหมือนนาเกลือของไทย ทำมาหลายร้อยปี และปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีกั้นน้ำสามารถเปิดปิดกั้นน้ำทะเลเพื่อบริหารทรัพยากรน้ำในประเทศได้

อีกกรณีศึกษาคือ เวียนนา ประเทศออสเตรียที่มีปัญหาน้ำท่วม เขาใช้วิธีขุดแม่น้ำขนานกับแม่น้ำดานูบ เพื่อให้น้ำ ได้ระบายออกไปไม่เข้าเมือง ซึ่งต้องลงทุนมหาศาล แต่เมื่อคำนวณแล้วพบว่าคุ้มค่าเมื่อแลกกับความเสียหายทั้งเศรษฐกิจและทรัพย์สินของประชาชนในประเทศ หรือโตเกียวที่มีอุโมงค์ยักษ์ในการระบายน้ำเพื่อไม่ให้เข้ามาในโตเกียว ขณะที่ประเทศไทยก็มีการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าในอนาคตก็จะได้เห็นเทคโนโลยีต่าง ๆ มาแก้ไขปัญหานี้ แต่เรื่องนี้นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนกันไปเป็นองคาพยพ ทุกภาคส่วนรวมถึงมหาวิทยาลัยเอง  ก็ต้องศึกษาวิจัยและเรียนรู้ประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ การเรียนการสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีแบบฝึกหัดให้นักศึกษาได้ทดลองแก้ไขปัญหาภัยพิบัติเป็นปกติ หรือมีโจทย์ออกแบบให้นักศึกษาได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของพื้นที่ที่แตกต่างกันไป เช่น การออกแบบอาคารในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมก็เป็นหนึ่งในผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี เพื่อหาทางออกของปัญหาด้วยการออกแบบ

ขณะเดียวกันนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ และรางวัลชมเชยจากการประกวดออกแบบบ้านพักอาศัยในโครงการประกวด Nova Stage of Designers Award ณ  งาน Nova BUILD EXPO 2023 ซึ่งเป็นการออกแบบบ้าน เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่น้ำท่วม และปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของเรามุ่งเน้นสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีจินตนาการ และมีหลักการที่พร้อมเผชิญกับการแก้ไขปัญหาจากโจทย์ใหม่ ๆ ที่ท้าทายตลอดเวลา จนกลายเป็นบัณฑิตคุณภาพ ด้วยหลักสูตรที่หลากหลาย ทั้งสถาปัตยกรรม ตกแต่งภายใน ออกแบบกราฟิก ออกแบบโปรดัก เซรามิก ออกแบบผ้าและแฟชัน ทั้งระดับปริญญาตรี โท เอก หากใครสนใจด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมในอนาคตเพื่อรับมือภัยพิบัติเหล่าคณาจารย์ก็พร้อมสนับสนุนและ  ยินดีต้อนรับสู่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น”

ภาพ-ข่าว  / ผานิต ฆาตนาค

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดตัว “โครงการ ICSR เปิดโอกาส สร้างพลเมืองโลก” ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองโลก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เตรียมจัดงานประชุมวิชาการประจำปี 2568 ครั้งที่ 39
สำนักบริการวิชาการ มข. จับมือนักศึกษาศิลปกรรมฯ ทีม “ชีเสริฟผ้าขาวม้า”
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรมกฎหมายปกครอง เสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รศ.นพ.ชาญชัย เป็นอธิการบดี วาระที่ 2
สำนักบริการวิชาการ มข. ร่วมเวทีสะท้อนข้อมูลความโปร่งใส มุ่งยกระดับธรรมาภิบาลองค์กร