“หมอทศพร” ควง “หมอเชิด” ตรวจศูนย์หัวใจภาคอีสาน ตอกย้ำการให้การบริการแบบครบวงจร ครอบคลุมระดับภูมิภาค พร้อมเดินหน้าตรวจสถานพยาบาลทุกแห่งเพื่อเพิ่มสภาพคล่องการเบิก-จ่ายแก้ปัญหา รพ.ขาดทุน
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 27 ก.ย.2567 ที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. นายทศพร เสรีรักษ์ ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะ ประธานคณะ กมธ.การสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ในฐานะที่ปรึกษา คณะ กมธ.สาธารณสุข นำคณะ กมธ.สาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานของศูนย์หัวใจสิริกิต์ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่มีประชาชนมาขอรับการบริการด้านการรักษาหัวใจ มากที่สุดในภาคอีสาน โดยมี รศ.นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวช คณะบดีคณะแพทยศาสตร์ มข. และ ผอ.ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ นำคณะผู้บริหาร พร้อมด้ยคณะแพทย์ และพยาบาล และบุคลากรทางการแทพย์ ร่วมให้การต้อนรับ
นายทศพร เสรีรักษ์ ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะ ประธานคณะ กมธ.การสาธารณสุข กล่าวว่า ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคอีสาน เป็นสถานพยาบาลที่มีประชาชนเข้ามาขอรับบริการในแต่ละวันจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นลำดับต้นๆจของภาคอีสานที่มีการรักษาโรคหัวใจที่ครบวงจร ขณะที่การพัฒนา สนับสนุนและสงเสริม ในด้านต่างๆยังคงมีขีดที่จำกัด โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่กำลังเป็นประเด็นที่กำลังพูดถึงกัน จากการเบิกจ่ายของ สปสช. ซึ่งหากจะมีใช้แบบถัวเฉลี่ยก็จะประสบปัญหาในขั้นตอนของการบริหารจัดการ ดังนั้นประเด็นนี้กรรมาธิการจะหารือและหาทางออกร่วมกันภายในกระทรวง และ สปสช.ว่าอะไรที่เหมาะสมและอะไรต้องแก้ไขเพื่อให้การเข้าถึงสิทธิ์การรักษาพยาบาลของคนไทยนั้นเป็นไปอย่างเท่าเทียมและตรงตามนโยบายที่กำหนดไว้
“ ตอนนี้มีการพูดถึงเรื่องการเบิกจ่าย ระหว่างสถานพยาบาลกับ สปสช. ซึ่งเราต้องคุยกันแลหาทางออกให้เร็วที่สุด วันนี้คณะ กมธ.สาธารณสุขมาลงพื้นที่จริง ตรวจสอบจริงและสอบถามจริงกับผู้ปฎับิตงาน ซึ่งพบว่ายังคงมีช่องว่างและสิ่งที่ต้องเติมเต็มในหลายด้าน โดยเฉพาะสภาพคล่องทงการเงินที่อาจจะติดขัดเรื่องการเบิกจ่ายๆรือ การหารือถึงวงเงินของกลุ่มโรคเฉพาะทาง รวมทั้งอัตรากำลัง หรือเครื่องมือและอปกรณ์ต่างๆ ซึ่งบางอย่างที่ยังคงไม่เพียงพอกับการให้บริการประชาชน ทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ กมธ.ได้รับทราบและจะเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาหารือร่วมกันทุกฝ่าย”
นพ.ทศพร กล่าวต่ออีกว่า คณะ กมธ.สาธารณสุข จะลงพื้นที่สถานพยาบาล ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่และทุกขานเพื่อรับทราบถงปัญหาและความต้องการพื่อนำไปสู่การแก้ไข โดยเฉพาะกับงบประมาณที่อาจจะไม่ต้องถัวเฉลี่ยแต่จะเป็นเฉพาะโรคเฉพาะทาง ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพราะแม้งบจาก สปสช.จะลดลงแต่เรายังมีงบกลาง และงบประมาณของกระทรวงฯ ที่นำมาแก้ปัญหาหรือดำเนินการตามสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด