วันพฤหัสบดี, 3 เมษายน 2568

พลิกฟื้นดินอีสาน! มข. ผลักดัน BCG Model ผ่านโครงการถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60

28 ส.ค. 2024
95

มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน ลงพื้นที่ติดตาม  และประเมินผลการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก ตามแนวทาง BCG Model ที่มุ่งเน้น  การใช้ประโยชน์จากถั่วเหลืองเพื่อการจัดการและพัฒนาความสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกอ้อย ณ แปลงทดลองการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60 ในฤดูฝน ที่ไร่บัวพักเกวียน บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด    

P1284794

 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมาสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก ตามแนวทาง BCG Model ที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากถั่วเหลือง เพื่อการจัดการและพัฒนาความสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างเครือข่ายวิจัย บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด และ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60  ฤดูฝน ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ สำหรับการขยายการผลิตถั่วเหลืองหลังการทำนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ เพื่อการปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ก่อนฤดูกาลปลูกอ้อยและเพิ่มผลผลิตอ้อย รวมทั้งช่วยเพิ่มปริมาณการกักเก็บ คาร์บอนในดิน

image

ผศ.ดร.สมพงศ์ จันทร์แก้ว หัวหน้าสาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ หัวหน้าทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60 เป็นถั่วเหลืองพันธุ์ใหม่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตในพื้นที่

“หากสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60 หมุนเวียนตลอดปี ทั้งในพื้นที่ดอนช่วงฤดูฝนในแปลงอ้อยที่มีการรื้อ ตอและพักแปลง และ ฤดูแล้งหลังการทำนาในพื้นที่ได้ จะทำให้สามารถส่งเสริมและขยายพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง  เป็นวงกว้างได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์และความไม่เหมาะสมของพันธุ์ต่อพื้นที่   ซึ่งการลงพื้นที่ติดตามครั้งนี้  ถือเป็นการตรวจสอบความก้าวหน้า และ ตรวจสอบประสิทธิภาพของโครงการที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับท้องถิ่น และ เป็นการยืนยันถึงความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น   และภาคเอกชนในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ต่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม”

P1284778-1200x800

ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน เปิดเผยว่า การดำเนินงานในโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในด้าน SDG 2 และ SDG 15 ซึ่งเน้นการพัฒนาพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงและมีประสิทธิภาพในการบำรุงดิน เป็นการตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตและยกระดับความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ นอกจากนี้ การสร้างความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ถั่วเหลือง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของดินและอาหารสัตว์ ยังเป็นการสนับสนุน SDG 9 โดยการนำเสนอวิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการเกษตรได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นและบริษัทมิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด  ยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ ผ่านการวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมต่อไป

P1284854-1200x800
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สำนักบริการวิชาการ มข.จัดหลักสูตรอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการพยาบาล ประจำเดือนมีนาคม 2568
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมให้บุคลากรท้องถิ่นเข้าใจกฎหมายเลือกตั้งและอำนาจหน้าที่เชิงลึก จ.กาญจนบุรี
ม.ขอนแก่น ตั้งระบบเตือนแผ่นดินไหวใช้เองผ่านระบบกูเกิ้ลแชท ตรวจติดตามสถานการณ์ได้ไกลถึง 2,000 กม.พร้อส่งสัญญาณเตือนภัยถึงบุคลากรและ นศ.กว่า 50,000 คนได้ภายใน 1 นาที
มข.ออกแบบ KKU Emergency Alert ! แจ้งเตือนแผ่นดินไหวผ่าน Google Chat
คณะพยาบาลศาสตร์ มข.จับมือ 15 หน่วยงานภาคอีสาน พัฒนาระบบดูแลสุขภาพประชาชนอย่างยั่งยืน
ผู้เชี่ยวชาญ มข. ร่วมเสนอแนวทางป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ ในเวทีวุฒิสภา