วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

มหาสารคาม จัดมอบรางวัล “นาคราช” เชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้านอีสาน ประจำปี 2567

ผู้ว่าฯ มหาสารคาม มอบรางวัล “นาคราช” เชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้านอีสาน ประจำปี 2567

 เมื่อวันที่ 19 ส.ค.67)เวลา 16.00 น. นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานพิธีมอบรางวัล “นาคราช” เพื่อเชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้านอีสาน ประจำปี 2567
โครงการสร้างเครือข่ายการจัดแสดงผลงานศิลปินพื้นบ้านและพิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระพุทธกันทรวิชัยอภิสมัยธรรมนายก พระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัดมหาสารคาม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 92 พรรษา 12 สิงหาคม 2567 ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกพร รัตนสุธีระกุล รองอธิการบดีฝ่ายการคลังและพัสดุ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน 

2024082069f854f924dba72bbc553b8d6b24e769095310


        สำหรับศิลปินพื้นบ้านอีสาน ประจำปี 2567 มีผู้ที่ได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ จำนวน 7 คน ได้แก่: สาขาจิตรกรรม: นายเพลิง วัตสาร สาขาดนตรี-นาฏกรรม: นางเพ็ง ใจวัน, นางละมัย เฉิดละออ, นายธงชัย คำโสภา สาขาภาษาและวรรณกรรม: รองศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวร สาขาศิลปะและหัตถกรรมพื้นบ้าน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์, นางสาวศิโรรัตน์ เถาว์โท

20240820a98114dc5e69bf4e910d9266ed2fbb80095415


        อาจารย์ทม เกตุวงศา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน กล่าวว่า สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้จัดงานเชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้านเพื่อมอบรางวัล “นาคราช” เป็นประจำทุกปี และในปีนี้ได้มีการต่อยอดโครงการด้วยการจัดเครือข่ายศิลปินพื้นบ้านอีสาน เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างศิลปินในการเผยแพร่ผลงานและถ่ายทอดองค์ความรู้จากศิลปินที่ได้รับรางวัล “นาคราช” ในอดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ เพื่อสดุดีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระราชกรณียกิจที่เป็นคุณูปการต่อวงการศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  นอกจากนี้ การจัดงานครั้งนี้ยังมุ่งเน้นให้ประชาชน นิสิต นักศึกษา ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่นอีสาน ผ่านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินพื้นบ้านอีสาน รวมถึงการจัดแสดงผลงานในสาขาต่าง ๆ ให้ปรากฏต่อสาธารณชน เพื่อสร้างความรู้สึกหวงแหนในศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศชาติในอนาคต

20240820b24f6c9e00a76eaf89699db16ea02a2e095409

ซึ่งภายหลังจากพิธีมอบรางวัล “นาคราช” และ ชมผลงานศิลปิน ผลงานเครือข่ายศิลปินพื้นบ้านอีสาน แล้ว ผู้ร่วมงาน ได้ร่วมประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระพุทธกันทรวิชัยอภิสมัยธรรมนายก พระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัดมหาสารคาม เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 92 พรรษา 12 สิงหาคม พ.ศ.2567  สำหรับ “พระพุทธกันทรวิชัยอภิสมัยธรรมนายก”  หรือที่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกขานนามว่า  “พระกันทรวิชัย”  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมหาสารคาม  เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร  วัสดุโลหะสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 35 นิ้ว สูง 82 นิ้ว ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ จำลองแบบคุปตะตอนปลาย ประทับนั่งเหนือดอกบัวตามลัทธิมหายาน ประดิษฐานอยู่ภายในหอพระ ข้างสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง)

ที่มา / สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมหาสารคาม

20240820166b951093e552f4a966000bfc424da4095317
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
จังหวัดมหาสารคาม จัดกิจกรรมจิตอาสาลงแขกเกี่ยวข้าวแปลงโคกหนองนาข้าราชบริพาร 
จังหวัดมหาสารคาม เปิดงานประเพณีไหว้เจ้าปุงเถ่ากงม่า แสดงงิ้ว และมหกรรมอาหารนานาชาติ ประจำปี 2567
จังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับโครงการเรน เดินหน้าขับเคลื่อนใช้กลยุทธ์และเทคโนโลยีไม่เผาตอซังในนาข้าว มุ่งสร้างเป็นเมืองเกษตรปลอดการเผา โครงการ Chi river No Burn
จังหวัดมหาสารคาม จัดแสดงสินค้าโชว์ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสิ่งทอเพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
ผู้ว่าฯมหาสารคาม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการและมอบใบอนุญาตการทำงานของแรงงานต่างด้าว
จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2567 (OTOP Product Champion : OPC)