วันจันทร์, 29 เมษายน 2567

มข.เปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 17 พัฒนาการศึกษาทั้งระบบ ดันขอนแก่นสู่ Smart city

25 มี.ค. 2024
231

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัด “การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ (National Open Class) ครั้งที่ 17” เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 การจัดงานเป็นแบบ Hybrid ทั้ง on-site ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ online บนเว็บไซต์ www.openclassthailand.com  โดยมีการจัดงานระหว่างวันที่ 23 – 24  มีนาคม พ.ศ. 2567 ภายในงานมีผู้บริหาร ภาคีเครือข่ายภาคการศึกษา  คณาจารย์  นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และบุคคลที่สนใจจากทุกภูมิภาคในประเทศไทย เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน 

DkIVWhdsR6

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น                        เห็นความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนและร่วมมือกับจังหวัดขอนแก่น เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City)             ในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงด้านการพัฒนาพลเมือง (Smart People) ซึ่งการเปิดชั้นเรียนระดับชาติครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ลงลึกถึงระดับโรงเรียน ผ่านการทำงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ร่วมกับภาคีเครือข่าย   ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาและวิจัยในชั้นเรียนจริง เชื่อมโยงระหว่างระบบผลิตครูและระบบครูประจำการ และสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ “เชื่อว่าการขับเคลื่อนการพัฒนาพลเมืองผ่านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เกี่ยวกับกระบวนการในการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียน                        ด้วยนวัตกรรม TLSOA รวมถึงการจัดงานเปิดชั้นเรียนระดับชาติ 17 ปีที่ผ่านมา จะเป็นฐานให้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาไปอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นฐานของความร่วมมือกับจังหวัดในการไปสู่ขอนแก่นโมเดลต่อไป”

dpaYBUj673

ด้าน รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน กล่าวถึงการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 17 ว่า Open Class ในภาษาไทยใช้คำว่า “เปิดชั้นเรียน” เป็นกระบวนการในการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียนอย่างยั่งยืน โดยแรกเริ่มได้มีการนำเอานวัตกรรม Lesson Study หรือ “การศึกษาชั้นเรียน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมร่วมกับโครงการ APEC Lesson Study ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มเครือข่ายเศรษฐกิจ มาปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทชั้นเรียนของประเทศไทย จนเกิดเป็น 

5iP9cJBXwu

“นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด (Thailand Lesson Study incorporated with Open Approach -TLSOA)” และกลายเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

“การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่เพียงครูผู้สอนขับเคลื่อนชั้นเรียนเอง                            แต่ทั้งผู้อำนวยการ ครูจากกลุ่มสาระวิชาหรือระดับชั้นอื่น ศึกษานิเทศก์ หรือบุคลากรส่วนอื่น สามารถร่วมสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ โดยเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน พัฒนาการใช้ห้องเรียนจริง เน้นการเรียนรู้ร่วมกันของครูและบุคลากรทุกระดับเพื่อทำความเข้าใจและยอมรับแนวคิดของนักเรียน และเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชั้นเรียนให้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การผลิต Smart people อันเป็นรากฐานสำคัญของ Smart city”

Syd1gjwTzz

ทั้งนี้ การเปิดชั้นเรียนระดับชาติในครั้งนี้ ได้ตระหนึกถึงการพลิกโฉมทางดิจิทัล (Digital Disruption) ในการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อยกระดับคุณภาพบริการทางสังคมด้านการศึกษา เป็นการดำเนินงาน             ในรูปแบบ Hybrid ทั้ง on-site ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ online บนเว็บไซต์ www.openclassthailand.com  ภายในงานมีการบรรยายพิเศษโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากในประเทศและต่างประเทศ  ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมการสอนจากทุกภูมิภาคในประเทศไทย การเสวนาจากทีมการศึกษาชั้นเรียน และสารคดี 20 ปี เส้นทางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม TLSOA พร้อมกับนิทรรศการ   ของโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชั้นเรียนด้วย 

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชิ้นแรกของไทย ! จาก มข.คว้า 2 รางวัลนวัตกรรมนานาชาติ ณ นครเจนีวา
สำนักบริการวิชาการ หนุนบุคลากรสายสนับสนุน Upskill ทักษะการเขียนคู่มือปฏิบัติงานหลักเพื่อประเมินค่างานเพื่อการขอตำแหน่งที่สูงขึ้น
สำนักบริการวิชาการ หารือร่วมกับวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น และ คณะศึกษาศาสตร์ เตรียมความพร้อมการเปิดหลักสูตรการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
แพทย์ มข.เปิด 4 โรคหน้าร้อนพบบ่อยที่ไม่ได้มีแค่ฮีตสโตรก แนะเช็กอาการ พร้อมวิธีป้องกัน
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรม UpSkill บุคลากรท้องถิ่น “สร้างองค์ความรู้กฎหมาย ระเบียบ และความรู้ทางวิชาการ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานฯ” รุ่นที่ 3
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดหลักสูตร UpSkill บุคลากรท้องถิ่น เพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างฯ สำหรับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (งานจ้างก่อสร้าง) รุ่นที่ 3