วันพฤหัสบดี, 29 พฤษภาคม 2568

การควบรวมTRUE-DTACทำแพคเกจแพง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภคจี้ กสทช.ตรวจสอบแพคเกจทุกค่าย

20 ต.ค. 2023
171

ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ต.ค. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในการเผยแพร่เอกสารข่าวว่า นับจากวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ลงมติเห็นชอบการควบรวม 2 เครือข่ายโทรคมนาคมใหญ่ TRUE- DTAC ท่ามกลางเสียงคัดค้านอย่างหนักของทั้งองค์กรผู้บริโภค พรรคการเมือง ภาคประชาชน หรือแม้แต่ กสทช. 2 เสียงข้างน้อย ถึงแม้ออก 2 เงื่อนไข ต้องลดค่าบริการเฉลี่ย 12 เปอร์เซ็นต์ และให้แยกแบรนด์ทำตลาดกันไปก่อน 3 ปี แต่หลังจาก TRUE- DTAC แจ้งแผนควบรวมเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ 1 มีนาคม 2566 โฉมหน้าใหม่ของการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมก็เปลี่ยนไปทันทีแบบไม่ต้องรอ 3 ปี อย่างที่ กสทช. วางมาตรการไว้ นั่นเพราะ TRUE- DTAC- AIS ปรับขึ้นอัตราค่าบริการเท่ากันแบบไม่ได้นัดหมาย ทำให้แพคเกจที่เป็นธรรมหายไปทันที ผู้บริโภคจึงหมดทางเลือกใช้บริการ ถึงแม้เรียกร้องให้ กสทช. มาจัดการแก้ปัญหา แต่ไม่มีสัญญาณตอบกลับ กระทั่ง 23 มิถุนายน ที่ผ่านมา สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ทำหนังสือไปถึงเพื่อถามหาความรับผิดชอบ

จากประเด็นข้างต้น วันนี้ (19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ) นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เสริมว่า กว่า 9 เดือนหลังควบรวม TRUE-DTAC เกิดปัญหาด้านราคาและคุณภาพบริการ ล้วนมีต้นเหตุจากความเพิกเฉยของ กสทช. อีกทั้งยังไม่เห็นการลดค่าบริการเฉลี่ย 12 เปอร์เซ็นต์ ตามเงื่อนไขมาตรการเฉพาะของผู้ประกอบการในการควบรวมธุรกิจ และยังพบ AIS คิดค่าบริการที่ใกล้เคียงกัน จนเหมือนเป็นการผูกขาดทางราคา โดยยังไม่เห็นกระบวนการติดตามตรวจสอบของ กสทช. นอกจากการรอฟังรายงานของผู้ประกอบการ ดังนั้น หาก กสทช. มีความจริงใจปกป้องสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค ต้องออกมาตรการตรวจสอบ-บังคับให้ผู้ประกอบการมือถือทุกค่ายเปิดเผยโครงสร้างแพคเกจต่อผู้บริโภค แต่เวลานี้ยังถูกปิดกั้นการเข้าถึง ดังนั้น จึงขอเสนอให้ กสทช. เปิดเผยข้อมูลแพ็คเกจค่าบริการของค่ายมือถือทุกค่ายผ่านเว็บไซต์ กสทช. รวมถึงเงื่อนไขมาตรการเฉพาะที่ผู้ประกอบการจัดทำรายงานส่งให้ กสทช. และสร้างช่องทางให้ผู้บริโภคสามารถเข้าไปตรวจสอบแพ็คเกจและเงื่อนไขการให้บริการของค่ายมือถือโดยง่าย และมีระบบการส่งข้อมูลความคิดเห็น และข้อร้องเรียนโดยตรงไปที่ กสทช. ที่นอกเหนือจากเบอร์ติดต่อ 1200 โดยที่ไม่ใช่ข้อมูลที่มาจากการรายงานของผู้ประกอบการแต่เพียงฝ่ายเดียว

เภสัชกรหญิง ชโลม เกตุจินดา อุปนายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา ให้สัมภาษณ์กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่า ปัญหาเกิดจาก กสทช. ไม่ยอมรับฟังเสียงคัดค้านจาก องค์กรผู้บริโภค ที่ชี้ให้เห็นถึงการผูกขาดและฮั้วราคา รวมถึงคุณภาพการให้บริการเครือข่ายที่แย่ลง หากปล่อยให้ควบกิจการ แต่กลับเร่งรัดลงมติด้วยเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 โดยเฉพาะข้อกังขาที่ นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ซึ่งคุมนโยบายด้านคุ้มครองผู้บริโภค แต่กลับถือข้างเอกชน ด้วยการ ใช้สิทธิ์โหวตซ้ำ (Double Vote) จนทำให้ดีล TRUE-DTAC บรรลุผล โดยอาศัยช่องโหว่ที่ระบุว่า “ ไม่มีข้อบังคับเรื่อง “อนุญาต” หรือ “ไม่อนุญาต “ ซึ่งเป็นปัญหาด้านความหมายของคำ จนกลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ TRUE-DTAC ควบรวมไปแบบเนียนๆ แต่หลังจากนั้น ได้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค เพราะสัญญาณอินเทอร์เน็ต ของ DTAC แย่ลง ทั้งที่ยังอยู่ระหว่างแยกแบรนด์ 3 ปี ความเร็วถูกลด ทั้งที่ซื้อแพคเกจราคาแพง แต่กลับหมดอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีการกระตุ้นให้ลูกค้าไปใช้เครือข่ายของ TRUE ที่สำคัญ ประเด็นที่ผู้ประกอบการใช้วิธีการแบบ “ส่วนลดเฉลี่ย” หมายถึง เอาคนที่มีกำลังจ่าย มาหารเฉลี่ย ให้คนไม่มีกำลังจ่าย ทั้งที่ส่วนลดค่าบริการเฉลี่ย 12 เปอร์เซ็นต์ ต้องมีแพคเกจที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น
ดังนั้น กสทช. ควรต้องเร่งมือในการกำกับดูแลตามเงื่อนไขที่วางไว้ และต้องรายงานให้สังคมทราบด้วย เพราะความล่าช้าในการกำกับดูแล ไม่เพียงส่งผลต่อผู้บริโภคในกรณี TRUE -DTAC เท่านั้น แต่จะเป็นบรรทัดฐานไปสู่การอนุญาตควบรวมอื่นๆ เช่น AIS กับ 3BB ในกิจการอินเทอร์เน็ตบ้าน ทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในสภาวะถูกลอยแพ

ส่วนการที่ กสทช. มาให้ข่าวเมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมาว่า เตรียมจัดทำ “ดัชนีราคาค่าบริการโทรคมนาคม “ ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกปี 2567 และจะจัดทำในทุกไตรมาสต่อไป เพื่อหาคำตอบ ประเด็นที่ถูกร้องเรียนว่า คนไทยจ่ายค่าบริการแพงขึ้น ประเด็นนี้ อุปนายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา ชี้ว่า อาการเพิ่งตื่นแบบนี้คือปัญหา เพราะทำให้ผู้บริโภคไม่เชื่อมั่นดัชนีราคาที่ออกมาจะเป็นกลาง เพราะฉะนั้น กสทช. ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงใจ ซึ่งผู้บริโภคและ องค์กรผู้บริโภค ต้องร่วมกันจับตา เพราะในสถานการณ์ที่เป็นเศรษฐกิจดิจิตอล กสทช. ต้องสนับสนุนทุกกลุ่ม ต้องไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และขอฝากไปถึงรัฐบาลให้จับตา กสทช.ให้ดี เพื่อพิสูจน์ว่าจะเป็นตัวคานงัดในการสร้างเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ จะทำให้นโยบายที่รัฐบาล ต้องการขับเคลื่อนเกิดสะดุด หรือไม่

ที่มา/ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

https://ffcthailand.org/news/mergeexpensivepackages

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 dWgJ6WZ.jpeg MAaG61.jpeg MB9x2v.jpeg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ MEnXPR.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
AIS ผนึกพลังภาคีเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน ปักหมุดประเทศไทยสู่ “ปีแห่งความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” ตัดวงจรมิจฉาชีพตั้งแต่ต้นทาง ขับเคลื่อนสังคมดิจิทัลปลอดภัยอย่างยั่งยืน 
AIS ร่วมกับ กสทช. ยืนยันความพร้อมระบบ Cell Broadcast บน Android และ iOS แนะลูกค้า iPhone อัปเดต iOS 18 ให้พร้อมรับการแจ้งเตือนภัย
“Aura Wellness” บริษัทแม่ของ Aura Bangkok Clinic ทุบสถิติรายได้ทะลุ 1,200 ล้าน
ทรูร่วมมือ กสทช. ยกระดับมาตรการสกัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เร่งตรวจสอบเพิ่มสถานีฐานชายแดนไทย-มาเลเซีย หลังลุยตรวจสอบภาคเหนือและตะวันออก
ทรู คอร์ปอเรชั่น ยืนยันปฏิบัติตามมาตรการ กสทช. ถอดอุปกรณ์เสาระงับบริการตามแนวพรมแดน 7 จว. ตั้งแต่ มิ.ย. 67 และเตรียมรื้อเสาเพิ่ม 10 แห่งตามคำสั่ง
โก โฮลเซลล์ ลุยต่อรับตรุษจีน เปิดสาขา “ขอนแก่น” บุกอีสานต่อเนื่อง เดินหน้ากลยุทธ์เจาะหัวเมืองใหญ่ รับการเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจร้านอาหาร