วันศุกร์, 13 ธันวาคม 2567

ทึ่ง! อาจารย์ ม.ขอนแก่น วิจัยแกลบหมักบำรุงดิน ช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน

07 ธ.ค. 2024
33

หากจะกล่าวว่าประเทศไทยเป็น “ประเทศแห่งเกษตรกรรม” ก็คงไม่ผิด เพราะจำนวนพี่น้องเกษตรกร 8.7 ล้านคน ประกอบกับพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรกว่า 142.9 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 44.5 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด ส่งผลให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) วิเคราะห์มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) พบว่าภาคเกษตรกรรมมีมูลค่า 1,531,120 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.81 ของ GDP รวมของประเทศ แต่จากปัญหาทางทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อผลผลิตที่ลดลง และปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เกษตรกรที่มีรายได้น้อยอยู่แล้วประสบปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรบางส่วนจึงหันไปพึ่งการทำการเกษตรแบบ “เกษตรเคมี” มากกว่า โดยหวังจะช่วยให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทว่านี่อาจเป็นการสร้างความเสียหายต่อที่ดินทำกิน และส่งผลต่อความยั่งยืนในการทำการเกษตรในอนาคต

จากปัญหานี้เองทำให้มีนักวิชาการหันมาสนใจศึกษาถึงวิธีการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น  มีสภาพที่ดินทำกินที่เอื้อต่อการผลิต และสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ซึ่งความสนใจนี้ทำให้    รศ.ดร.นันทวัน ฤทธิ์เดช อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาแบบ “เกษตรอินทรีย์” โดยการนำแกลบมาหมักกับเชื้อจุลินทรีย์เพื่อบำรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งงานวิจัยนี้เกิดขึ้นจากการนำแกลบที่ใช้ปรับปรุงดินอยู่แล้วไปต่อยอดให้มีประสิทธิภาพที่ดีขื้นและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกรไทย

Fig 1 April 18 2024 1200x701

งานวิจัยนี้ได้นำแกลบดิบมาทำการปรับสภาพด้วยน้ำประปา โมลาส(กากน้ำตาล) ปูนขาว กรดอะซิติก  (กรดน้ำส้ม) เป็นเวลา 30 วัน และนำแกลบดิบผสมกับปุ๋ยคอกและหัวเชื้อแบคทีเรีย (Co-inoculums) เป็นระยะเวลา 2 เดือน ผลการทดลองพบว่า การทรีตเมนต์ที่ pre-treated ด้วยกากน้ำตาลและปูนขาวหมักร่วมกับจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวได้ดีที่สุด แกลบหมักเหล่านี้ยังถูกนำมาทดลองต่อในดิน 3 ชนิด ได้แก่ ดินปกติ ดินเค็ม และดินเปรี้ยว และได้ทดลองปลูกข้าวไปในดินทั้ง 3 ชนิดนี้ด้วย ผลการทดลองชี้ให้เห็นถึงค่า pH ความเป็นด่างของแกลบหมักที่สร้างสมดุลให้ค่าความเป็นกรดของดินเปรี้ยว จากสภาพ ความเป็นกรดให้ให้มีสภาพความเป็นกลาง

การทดลองทำให้ของเหลือทิ้งทางการเกษตรอย่างแกลบกลายเป็นสารบำรุงที่มีคุณภาพ ช่วยแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรมให้พร้อมเพาะปลูกต่อได้ทันที นอกจากนี้ยังเป็นการลดการใช้สารเคมีกับผลิตภัณฑ์ จึงเป็นการลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และสร้างความยั่งยืนให้กับการเกษตร

รศ.ดร.นันทวัน ฤทธิ์เดช อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.ดร.นันทวัน ฤทธิ์เดช ให้สัมภาษณ์ถึงความท้าทายในงานวิจัยนี้ว่า “งานวิจัยนี้เป็นการทดลองใหม่ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น จึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอด และต้องเตรียมร้อมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าผลการทดลองจะออกมาเป็นอย่างไร”

จากความสำเร็จนี้เอง ทำให้งานวิจัยนี้เป็นหนึ่งในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่จะได้นำผลงานไปแสดง ที่งาน Expo ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปี 2025 ณ ประเทศมาเลเซีย และยังได้มีผลงานบทความวิจัยตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ Q1 ฐานข้อมูล Scopus + ISI ในวารสารชื่อ Journal oof Soil Science and Plant Nutriton เพื่อเป็นแหล่งศึกษาความรู้ต่อไป

600376

การใช้แกลบหมักผสมเชื้อจุลินทรีย์เพื่อบำรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช เป็นงานวิจัยที่ช่วยเหลือเกษตรในทุกมิติ ทั้งการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากผลผลิตทางการเกษตร การสร้างรายได้และสร้างความยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวไทย ดั่งปณิธานแห่งการครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาขอนแก่นที่ว่า “60 ปี แห่งการสร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อสังคม”

สำหรับพี่น้องเกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจจะนำแกลบมาหมักกับเชื้อจุลินทรีย์เพื่อบำรุงดินและส่งเสริม การเจริญเติบโตของพืช สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ข่าว   :   พรหมภพ  วอหา  นักศึกษาสหกิจศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข.

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
“นวดคอ” อันตรายจริงไหม ? หาคำตอบกับผู้เชี่ยวชาญ มข. พร้อมแนะ 3 ท่ากายบริหารลดอาการปวดคอง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
สำนักบริการวิชาการ มข. เปิดบ้านต้อนรับ มรภ.ร้อยเอ็ด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมหลักสูตร UpSkill ผู้ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ กรุงเทพฯ
สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคและแนวทางการนำเอาเกณฑ์ EdPEx สู่การปฏิบัติ รุ่นที่ 5
สุดยอดนวัตกรรมไทย! “การออกแบบผ้าไหมด้วย AI” คว้า 2 รางวัลใหญ่ระดับนานาชาติ
คณะนิติฯ มข. จับมือ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนภาค 4 เปิดพื้นที่การเรียนรู้ปฏิบัติจริง สร้างนักกฎหมายที่มีทักษะวิชาชีพในสายงานตำรวจ