วันพฤหัสบดี, 17 เมษายน 2568

นักวิจัย มข.คิดค้นสูตรสารเคลือบ “หน้ากากอนามัย-แผ่นกรองอากาศ” จากสารสกัดกากชาเขียว 2 in 1 กรองฝุ่นดี ยับยั้งแบคทีเรียได้

02 ต.ค. 2024
88

นับถอยหลังจากฤดูฝนสู่ฤดูฝุ่น วิกฤตฝุ่นคลุมเมือง PM 2.5 นับเป็นอีกปัญหาที่สังคมไทยต้องเผชิญทุกปี รวมถึงเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากสะสมอาจทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะภูมิแพ้ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้คิดค้นสูตรสารเคลือบแผ่นกรองอากาศเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้

Brighter Future with KKU Research วันนี้จะพาทุกคนไปเจาะลึกกับงานวิจัยพัฒนาสูตรสารเคลือบแผ่นกรองอากาศเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียจากกากชาเขียว นำโดย ผศ.ดร.วิรัตน์ เจริญบุญ อาจารย์สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมี รศ.ดร.พรนภา เกษมศิริ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.สุปราณี พันธุ์ธนวิบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น น.ส.ณัฏฐ์นรี ศรีเชียงสา และนายสุธีพร คิดถาง นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวทิยาลัยขอนแก่น เป็นทีมวิจัยร่วมด้วย

IMG-6975-0-0

ผศ.ดร.วิรัตน์ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของงานวิจัยเมื่อปี 2565 หลังจากได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ดำเนินการวิจัยต่อยอดจากการศึกษาและพัฒนาหน้ากากอนามัยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยการนำกากชาเขียวที่เหลือทิ้งนำมาสกัดด้วยน้ำ เพื่อให้ได้สาร 2 ชนิด คือ ฟีนอลิก และแทนนิน ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งแบคทีเรีย มาผสมกับโพลิเมอร์ชนิด PVA ด้วยการละลายในน้ำ นับเป็นวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากนั้นทีมวิจัยได้นำสารดังกล่าวมาพ่นเคลือบหน้ากากอนามัยชั้นกลาง หรือ แผ่นกรองอากาศด้วยเครื่องอิเล็กโตรสปินนิง (electrospinning) ซึ่งสามารถสร้างเส้นใยระดับนาโนเมตรได้และช่วยให้กรองฝุ่นขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลังจากศึกษา ค้นคว้า และทดลองมานานถึง 1 ปี พบว่า หน้ากากอนามัยที่ถูกเคลือบด้วยสารที่พัฒนาขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียชนิดแกรมบวกที่ฆ่าได้ยาก อย่างเชื้อสแตฟิโลค๊อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ได้ถึง 24.4% เมื่อเวลาผ่านไป 60 นาที ขณะที่มีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาพฝุ่นขนาด 0.1 ไมครอนได้ถึง 99.5% และกรองแบคทีเรียขนาด 2.7 ไมครอนได้สูงถึง 99.9%

message-Image-1727144438970-0

“ปกติเมื่อสวมใส่หน้ากากอนามัยจะทำให้เกิดแบคทีเรียซึ่งจะสร้างไบโอฟิล์มหรือแผ่นคราบแบคทีเรียขนาดบางที่เกาะติดอยู่บนพื้นผิวจนทำให้ประสิทธิภาพการกรองฝุ่นของหน้ากากอนามัยหรือแผ่นกรองอากาศลดลงและยังลดประสิทธิภาพการไหลผ่านของอากาศและยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่เมื่อมีการพ่น สูตรสารเคลือบแผ่นกรองอากาศเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียจากกากชาเขียวนี้ปัญหาดังกล่าวจะหมดไป ทั้งยังสามารถกรองฝุ่นที่เล็กกว่า PM 2.5 ได้ และช่วยเรื่อง Zero Waste จากขยะเหลือทิ้งกากชาเขียวมาเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย”

S-11665447-0-0

ทั้งนี้ สูตรสารเคลือบแผ่นกรองอากาศเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียจากกากชาเขียวสำหรับหน้ากากอนามัยถูกยื่นจดอนุสิทธิบัตรแล้ว และมีการผลิตหน้ากากต้นแบบ KF94 3D ออกมา 10,000 ชุด เพื่อมอบให้ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่นไปแล้ว ขณะเดียวกันการทดลองในแผ่นกรองอากาศเพื่อใช้กับไส้กรองของเครื่องฟอกและเครื่องปรับอากาศก็กำลังเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายแล้ว และคาดว่าจะสามารถยื่นจดอนุสิทธิบัตรในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งหากผลิตออกมาแล้วจะช่วยยืดอายุการใช้งานของไส้กรองอากาศจาก 6 เดือน เป็น 1 ปี หวังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนที่ใช้เครื่องฟอกอากาศในอนาคตต่อไปได้

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจนวัตกรรมสูตรเคลือบแผ่นครองอากาศเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียจากชาเขียวเพื่อนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ในอนาคตสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.วิรัตน์ เจริญบุญ หรือ สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดต่อ : Faculty of Science , Khon Kaen University – SCi KKU หรือ ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา

ข่าว ผานิต ฆาตนาค

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
งานวิ่งสุดสดชื่นและคอนเสิร์ตที่สนุกที่สุดในช่วงหน้าร้อน“Water Fiesta Run”จัดโดย วิทยาลัยนานาชาติ มข.
มข.อนุมัติชื่อปริญญาใหม่  3  สาขา การจัดการ นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์
“มข.ฉลองความสำเร็จ ‘KKU Khon Kaen Star’ รองแชมป์ลีกวอลเลย์บอลระดับประเทศ พร้อมผลักดันเยาวชนอีสานสู่กีฬาอาชีพ”
มข. ดันธุรกิจ “จิ้งหรีด” เลี้ยงเป็น เปลี่ยนชีวิต
เพิ่มความเป็นเลิศ /คณะแพทยศาสตร์ มข. เปิดศูนย์ห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ ด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
แผ่นดินไหวสะเทือนขอนแก่นในรอบ 21 ปี นักวิชาการ มข.มองอนาคตความเสี่ยงผ่านมุมธรณีวิทยา พร้อมแนะ 4 วิธีสังเกตแผ่นดินไหว