ผู้ว่าฯขอนแก่น สั่งเข้ม 6 อำเภอเสี่ยงเฝ้าระวังดินโคลนถล่ม กำชับนายอำเภอทั้งจังหวัดต้องอยู่พื้นที่เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน 24 ชม. ขณะที่การระบายน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ยังอยู่ที่ 20 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 13 ก.ย.2567 ที่วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานเปิดการประชุมการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในท้องถิ่น ท่ามกลางความสนใจจากผู้บริหารท้องถิ่น,หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและนักวชาการด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมประชุมอย่างพร้องเพรียง
นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า จังวัดได้เรียกประชุมด่วน 6 นายอำเภอที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดสถานการณ์ดินโคลนถล่มประกอบด้วย อ.ภูผาม่าน,มัญจาคีรี,ชุมแพ,แวงน้อย,สีชมพูและ อ.อุบลรัตน์ เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดสถานกรณ์ในพื้นที่จากพายุฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ โดยให้ทุกอำเภอเตรียมแผนอพยพ แผนรับมือและเร่งซักซ้อมร่วมกับชุมชนในแต่ละพื้นที่เพื่อที่จะสามารถบริหรจัดการเหตุการณ์ได้ทันทีหากเกิดเหตุการณ์เกิดขึ้นในระยะนี้
“ ผมสั่งการไปแล้วว่า นายอำเภอและบุคลากรที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบโดยตรงในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยสนับสนุนทุกฝ่าย ต้องอยู่ในพื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 26 อำเภอของจังหวัดเพื่อที่จะบัญชาการเหตุการณ์และจัดระบบการให้ความช่วยเหลือ แก้ไขสถานการณ์และให้การช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบภัยทั้งในเรื่องของดินโคลนถล่ม น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือช่วงวันหยุดต่งๆที่มักจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ดังนั้นจากนี้ไปจังหวัดจะต้องเพิ่มมาตรการที่รัดกุม และมีความเข้มข้นและเข้มงวดในเรื่องของอุทกภัยภาพรวมทั้งจังหวัดตลอดทั้ง 24 ชม.
ผวจ.ขอนแก่น กล่าวเพิ่มเติมว่า การระบายน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ขณะนี้ยังคงระดับอยู่ที่ 20 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน โดยปริมาณน้ำล่าสุดเช้าวันนี้ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 40 ของความจุอ่าง หรือประมาณ 900 ล้าน ลบ.ม. จึงต้องมีการหารือร่วมกันของทุกฝ่ายในการบริหารจัดการน้ำในภาพรวม และเฝ้าติดตามสถานการณ์ในกลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำพอง แม่น้ำชี และแม่น้ำโขง รวมทั้งลำน้ำสาขา จากสถานการณ้ำในพื้นที่ข้างเคียงอย่างเคร่งครัดเพราะขอนแก่น จะเป็นพื้นที่รับน้ำของกลุ่มภาคอีสานตอนกลาง อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนที่ผ่านมา จังหวัดได้มีการพร่องน้ำในแม่น้ำชีและแม่น้ำพอง ตามแผนการบริหาจัดการน้ำไปแล้วกว่า 1,000 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่รับน้ำได้อีกจำนวนมาก ทั้งยังคงกับให้ อปท.ประสานงานร่วมปกครองและอำเภอตรวจสอบสภาพตลิ่งตามแนวเขตแม่น้ำพองและแม่น้ำชี ในระยะนี้เพิ่มเติมไปด้วย เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่ามวลน้ำจากพายุที่ตกลงมานั้นจะเข้าพื้นที่ขอนแก่น ใช่วงเดือน ต.ค.ที่จะถึงนี้จึงต้องวางผนรับมือและบริหารจัดการในภาพรวมไว้อย่างรัดกุม