วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

61 ผู้ตัดสิน ติวเข้มกติกาที่มีการเปลี่ยนแปลง ก่อนเปิด รีโว่ ไทยลีก ฤดูกาล 2024/25

11 ก.ค. 2024
67

ายพัฒนาผู้ตัดสิน สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีปิดการอบรม FIFA MA MEN REFEREE COURSE ซึ่งเป็นคอร์สสำหรับการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน ฟุตบอล รีโว่ ไทยลีก ฤดูกาล 2024/25 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

การอบรมในครั้งนี้ใช้เวลา 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 7-10 กรกฎาคม 2567 ภายใต้การดูแลอย่างเข้มข้นของ วิทยากรจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) และ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) ประกอบด้วย ซุบคิดดิน บิน โมฮัมหมัด ซัลเลห์, วิดิยา ฮาบีบาห์ บินติ ชัมสุรี, อาหมัด คาลิดี้, โมฮัมหมัด โรซาลี บิน ยาคอบ

S-208887830

โดยมีผู้ตัดสินที่สามารถทำหน้าที่ในรีโว่ ไทยลีก เข้าร่วมอบรม แบ่งเป็นผู้ตัดสิน 24 คน, ผู้ช่วยผู้ตัดสิน 31 คน และ ผู้ตัดสินหญิงอีก 6 คน รวมทั้งหมด 55 คน การอบรมได้เน้นเรื่องของการทบทวนความรู้ และทำความเข้าใจกับกฏกติกา Laws of the Games ที่จะใช้ในฤดูกาล 2024/25 ซึ่งมีกฎที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้

  1. กติกา Laws of the Games 2024/25 ที่มีการเปลี่ยนแปลง

กติกาข้อ1 การใช้เทคโนโลยีที่เส้นประตู

  • การขยายความเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เส้นประตู (Goal-line Technology) เพื่อแจ้งให้รู้ว่ามีการทำประตูได้ จากฤดูกาลที่ผ่านมาจะแจ้งไปที่เฉพาะนาฬิกาข้อมือ ให้เปลี่ยนเป็นแจ้งทั้งนาฬิกาข้อมือ และ ระบบเครื่องมือสารของวีเออาร์ด้วย (หูฟัง)

กติกาข้อ3 เกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวฉุกเฉิน

  • การใช้การเปลี่ยนตัวฉุกเฉิน (Concussion substitutions) ยกตัวอย่างเช่นนักกีฬาได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือ ความผิดปกติที่หัวใจ เมื่อผู้ตัดสิน ได้มีการประเมินร่วมกับแพทย์สนามแล้ว ทีมดังกล่าวจะได้สิทธิ์ในการเปลี่ยนตัวเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ซึงได้ระบุลงไปอย่างชัดเจน ในกติกา (ก่อนหน้านี้การจะนำกฎดังกล่าวฝ่ายจัดการแข่งขันจะต้องแจ้งเรื่องไปยังฟีฟ่า เนื่องจากอยู่ในการทดลองใช้) นั่นหมายความว่าในฤดูกาลนี้ หากจะนำกฎดังกล่าวมาใช้ ฝ่ายจัดการแข่งขันจะนำมาใช้ฝ่ายจัดการแข่งขันสามารถดำเนินการได้เลย

กติกาข้อ 4 ปลอกแขนกัปตันทีม และสนับแข้ง

  • นักกีฬาทุกคนต้องใส่สนับแข้งที่มีวัสดุและขนาดที่เหมะสม ซึ่งโดยกติกาคือสนับแข้งต้องอยู่ภายใต้ถุงเท้าเท่านั้น และผู้เล่นจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อขนาดและวัสดุของสนับแข้งด้วยตัวเอง
  • ขยายความข้อบังคับของหัวหน้าทีม (Captain) ในการสวมใส่ปลอกแขน (Armband) รูปแบบ หรือ ลักษณะ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายจัดการแข่งขันเท่านั้น (เพื่อป้องกันประเด็นทางการเมืองและการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์)
  • ทาง IFAB อนุญาตให้ ผู้รักษาประตูสามารถใส่กางเกงขายาว ลงทำการแข่งขันได้

กติกาข้อ 12 การเจตนาเล่นลูกบอลด้วยมือ

  • การขยายความเกี่ยวกับความผิดที่ไม่มีเจตนาใช้มือเล่นลูกบอล (non-deliberate handball) จากเดิมการทำผิดกติกา แฮนด์บอล จะปฏิบัติตามกฏ ถ้าเป็นในกรณี (Stop-Promising-Attack=SPA) จะเป็นการให้จุดโทษและใบเหลือง และในกรณีที่ ทำผิดกฎกติกา ในรูป (Deny and Obvious Goal Scoring Oppurtunity) จะเป็นการให้จุดโทษและใบแดง **แต่กติกาที่เปลี่ยนแปลงใหม่จะลดโทษในกรณีที่ผู้เล่นไม่มีเจตนาในการทำแฮนด์บอล (non-deliberate handball) โดยความตั้งใจของ IFAB คือเพื่อต้องการลดจำนวนใบเหลือง-ใบแดง จากการทำผิดในกรณีแฮนด์บอล

กติกาข้อ 14 การเตะลูกโทษ (เพิ่มเติม)

  • จากกติกาเดิม ลูกบอลทั้งใบจะต้องอยู่บนจุดโทษเท่านั้น แต่ในกติกาใหม่ ทาง IFAB อนุญาตให้วางบอลโดยมีส่วนใดส่วนหนึ่งของลูกฟุตบอลสัมผัสจุดโทษ (เหมือนกับการวางลูกฟุตบอลในขณะเตะลูกเตะมุม) โดยความตั้งใจของ IFAB คือลดข้อถกเถียงระหว่างนักกีฬากับผู้ตัดสิน
  • การเข้าในกรอบเขตโทษ ของผู้เล่น (Encroachment) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการยิงจุดโทษ จากที่ก่อนหน้านี้ จะพิจารณาทุกคนที่เข้ากรอบเขตโทษก่อน แต่ในกฏ กติกาใหม่ จะพิจารณาเฉพาะนักกีฬาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่าง กรณีที่การยิงจุดโทษ และติดเซฟหรือชนเสา ในกรณีที่ผู้เล่นฝ่ายรุกยิงซ้ำเข้าไป และเข้ามาในกรอบเขตโทษก่อน จะถูกตัดสินให้เป็น In-Direct Free kick กับ อีกฝ่ายทันที และถ้าหากในกรณีที่ ฝ่ายรับเข้ามาในกรอบเขตโทษก่อน และสกัดลูกบอลออกไป จะให้ ฝ่ายรุกได้ยิงจุดโทษใหม่อีกครั้งเป็นต้น
S-208887824

นอกจากนี้ยังมีการ ทบทวนเหตุการณ์ จากคลิปวีดีโอต่างๆ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่จะทำให้ผู้ตัดสินเกิดความเข้าใจและชำนาญถึงหลักการพิจารณาในจังหวะต่างๆ อาทิ การแย่งชิงบอล, การกระทำผิดทางยุทธวิธี, การเล่นลูกบอลด้วยมือ, จังหวะการล้ำหน้า, เหตุการณ์ในเขตโทษ, การบริหารจัดการเวลาในจังหวะต่างๆ และ ทบทวนการเรียกใช้ VAR รวมทั้ง การฝึกภาคสนาม เพื่อเรียนรู้ตำแหน่งและการเคลื่อนที่ ฝึกทักษะการอ่านเกมและคาดการณ์ล่วงหน้า การทำงานเป็นทีม

ก่อนปิดท้ายการอบรม ด้วยการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่ง ผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน จะต้องผ่านการทดสอบก่อนที่จะทำหน้าที่ตัดสินไทยลีก 1 ประกอบไปด้วย การสปรินท์ เทสต์, อินเตอร์วัล เทสต์, โคด้า เทสต์ โดยจากผู้เข้าร่วมอบรม ทั้งหมด 61 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บระหว่างการทดสอบ 7 คน จึงต้องเข้าทดสอบใหม่อีกครั้ง ก่อนที่ฤดูกาลแข่งขันจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนสิงหาคม 2567

S-208887835

ขณะเดียวกันหลังจากนี้ ทางฝ่ายพัฒนาผู้ตัดสิน จะมีการอบรมผู้ตัดสินที่จะทำหน้าที่ในระดับ ไทยลีก 2 ระหว่างวันที่ 14-18 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และจัดอบรมผู้ตัดสินระดับไทยลีก 3 ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการแข่งขันฤดูกาล 2024/25 ต่อไป

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สงขลา จัดยิ่งใหญ่! “คิงส์ คัพ” ครั้งที่ 50 ตั้งเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว เงินสะพัดหลายร้อยล้านบาท
สมาคมฯ ประกาศแต่งตั้ง “ทาคายูกิ นิชิกายะ” คุมทีมชาติไทย U23
สมาคมฯ และ ไทยลีก ประชุมร่วมกับ ทรู คอร์ปอเรชัน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยลีก ฤดูกาล 2024/25
สมาคมฯ จัดงาน FA Thailand Awards 2023/24 มอบ 30 รางวัล-สุภโชค แข้งยอดเยี่ยมแห่งปี
“ศุภชัย-ธีราทร-ปรเมศย์” ลุ้นคว้ารางวัลนักฟุตบอลแห่งปีไทยลีก TOYOTA THAI LEAGUE MOST VALUABLE PLAYER 2023/24
สมาคมฯ มีมติให้ไทยลีก 2 มี 18 ทีมตามข้อบังคับ , แต่งตั้ง พ.ต.ท มล. กิติบดี อุปนายกฯ คนที่ 1-ปิยะพงษ์ โฆษกฯ